สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
Doctor of Philosophy (Music Research and Development) เพื่อสร้างนักวิจัยทางดนตรีที่มีความสามารถในการใช้กระบวนการวิจัย สร้างองค์ความรู้ใหม่ ผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่เชิงวิชาการหรือวิชาชีพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมและแวดวงดนตรี
ชื่อหลักสูตร | หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา Doctor of Philosophy (Music Research and Development) |
ชื่อปริญญา ภาษาไทย | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคีตวิจัยและพัฒนา) ปร.ด. (สังคีตวิจัยและพัฒนา) |
ชื่อปริญญา ภาษาอังกฤษ | Doctor of Philosophy (Music Research and Development) Ph.D. (Music Research and Development) |
สถานที่จัดการเรียนการสอน | คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ |
รูปแบบของหลักสูตร | หลักสูตรระดับปริญญาเอก แผน 2 เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาชีพชั้นสูง แผน 2.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) หลักสูตร 3 ปี ไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต |
รายละเอียดวิชา
Faculty of Music Silpakorn University
- รายละเอียดหลักสูตร
- ผลลัพธ์การเรียนรู้
- สาขาวิชา
- อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
- สถานที่จัดการเรียนการสอน
- สมัครเรียน
สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
ชื่อหลักสูตร: หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
Doctor of Philosophy (Music Research and Development)
ชื่อปริญญา :
ภาษาไทย
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สังคีตวิจัยและพัฒนา)
ปร.ด. (สังคีตวิจัยและพัฒนา)
ภาษาอังกฤษ
Doctor of Philosophy (Music Research and Development)
Ph.D. (Music Research and Development)
รูปแบบของหลักสูตร : หลักสูตรระดับปริญญาเอก แผน 2 เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาชีพชั้นสูง แผน 2.1 (ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท) หลักสูตร 3 ปี ไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต
สถานที่จัดการเรียนการสอน : คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
ค่าลงทะเบียน : 95,000 / ภาคการศึกษา เรียกเก็บทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา (ไม่รวมค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย)
การสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
การสอบประมวลความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัยทางดนตรี การวิเคราะห์และการวิพากษ์งานวิจัยทางดนตรี การนำเสนอแนวคิดเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและการบริหารจัดการงานดนตรี
การกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิของสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการให้ข้อมูลด้านผลการเรียนรู้ของหลักสูตร
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program learning outcomes: PLOs)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร(Program Learning Outcomes) PLOs
- PLO1 ประยุกต์กระบวนการวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางด้านดนตรี
- PLO2 วิเคราะห์ข้อมูลทางดนตรี นวัตกรรมเชิงวิชาการหรือสร้างสรรค์เพื่อริเริ่มแนวคิดใหม่ที่มีคุณค่าและสอดคล้องกับความต้องการของสังคม
- PLO3 ถ่ายทอดและเผยแพร่ผลงานตนเองผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศสู่สาธารณะ
- PLO4 ประเมินคุณค่าผลงานที่เกี่ยวข้องกับดนตรีตามหลักจริยธรรมการวิจัย เพื่อกำหนดแนวทางในการต่อยอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ทางดนตรี
- PLO5 ผลิตผลงานทางดนตรีตามกระบวนการวิจัยและคุณลักษณะของนักวิจัยดนตรีสร้างสรรค์
- PLO6บริหารจัดการโครงการดนตรีร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม และสื่อสารกับผู้ร่วมงานได้ตรงตามเป้าหมายเพื่อให้โครงการสำเร็จ
- สายวิชาดนตรีวิทยาและมานุษยดุริยางควิทยา
- สายวิชาการแสดงดนตรี
- สายวิชาดนตรีแจ๊ส
- สายวิชาการประพันธ์ดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี
- สายวิชาการจัดการธุรกิจดนตรี
- สายวิชาดนตรีศึกษา
โครงสร้างหลักสูตร
แผน 2.1 จำนวนไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต
วิชาบังคับ | 12 หน่วยกิต |
วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเท่ากับ) | 36 หน่วยกิต |
รายวิชา
รายวิชา
วิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต
675 101
|
ระเบียบวิธีวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต
(Advanced Research Methodology)
|
3(3-0-6)
|
675102
|
การจัดการนวัตกรรมดนตรี
(Music Innovation Management)
|
3(3-0-6) |
675 103
|
สัมมนาดนตรีระดับดุษฎีบัณฑิต
(Doctoral Music Seminar)
|
3(3-0-6) |
675 104
|
การคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี
(Creative Thinking in Music)
|
3(3-0-6) |
675 105
|
ศึกษาดูงาน
(Field Trip)
|
3 * (1-4-4)
|
วิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
675 201
|
การพัฒนาหลักสูตรดนตรี (Music Curriculum Development)
|
3(3-0-6) |
675 202
|
แผนกลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ในธุรกิจดนตรี (Creative Strategic Plan in Music Business)
|
3(3-0-6)
|
675 203
|
การปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ในการแสดงดนตรี
(Creative Practice in Music Performance)
|
3(0-6-3) |
675 204
|
การประพันธ์ดนตรีสื่อผสมระดับดุษฎีบัณฑิต
(Advanced Intermedia Composition)
|
3(3-0-6)
|
675 205
|
การวิจัยทางดนตรีวิทยา (Research in Musicology)
|
3(3-0-6) |
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
675 301
|
วิทยานิพนธ์
(Thesis)
|
(มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
|
คำอธิบายรายวิชา
675 101
ระเบียบวิธีวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต (Advanced Research Methodology) 3(3-0-6)
ระเบียบวิธีวิจัยทางศิลปกรรมศาสตร์ วิจัยสร้างสรรค์ การวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ การออกแบบการวิจัย การวิพากษ์งานวิจัยดนตรี การวิเคราะห์งานวิจัย สร้างสรรค์ทางดนตรีเชิงลึก การพัฒนางานวิจัยดนตรีตามความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล
Research methodology in fine-arts; creative research; quantitative and qualitative research; research designing; music research criticism; in depth analysis of music creative research; developing music research according to individual expertise.
675 102
การจัดการนวัตกรรมดนตรี (Music Innovation Management) 3(3–0–6)
การจัดการนวัตกรรมดนตรีร่วมกับกิจกรรมในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การสื่อสารระหว่างบุคคล การสร้างเครือข่ายดนตรี การวางแผน ติดตาม ประเมินการบริหารจัดการงานดนตรี และการพัฒนาสื่อการสอนดนตรีในระดับอุดมศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นกรอบแนวคิด
Management of music innovation along with related subjects; Interpersonal communication; Building networks in music; Planning, follow-up, and assessment in music management; Development of media for music teaching in higher education, utilizing a research-based framework.
675 103
สัมมนาดนตรีระดับดุษฎีบัณฑิต (Doctoral Music Seminar) 3(3-0-6)
การพัฒนาหัวข้อทางดนตรี การริเริ่มประเด็นและแนวคิดทางนวัตกรรมดนตรีให้สอดคล้องกับยุคสมัย การจัดสัมมนาหัวข้องานสร้างสรรค์เชิงวิชาการดนตรี
The development of music topics, including the initiation of relevant subject matters and concepts for music innovation, and the organization of an academic seminar on a topic related to music creativity.
675 104
การคิดสร้างสรรค์ทางดนตรี (Creative Thinking in Music) 3(3-0-6)
การผลิตผลงาน สื่อ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมทางดนตรีที่ใช้กระบวนการวิจัย ความคิดสร้างสรรค์ขั้นสูง และสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม การบูรณาการความรู้ทางดนตรีกับศาสตร์แขนงอื่น การพัฒนาความคิดวิเคราะห์และวิพากษ์ผลผลิตทางดนตรี
Producing works, media, technology, or innovations based on research and advanced creativity relevant to social development; integrating music with other fields; fostering analytical and critical thinking in musical production.
675 105
ศึกษาดูงาน (Field Trip) 3(1-4-4)
เงื่อนไข : วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U
การศึกษาดูงานดนตรีในประเทศไทยหรือต่างประเทศ การประยุกต์ความรู้จากการศึกษาดูงานเพื่อสร้างสรรค์งานดนตรีและงานวิจัยทางดนตรี การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดนตรีของสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
A field trip in Thailand or foreign country; Applying knowledge from the field trip to create music products and conduct music research; Exchanging music experiences of different music societies and cultures.
675 201
การพัฒนาหลักสูตรดนตรี (Music Curriculum Development) 3(3-0-6)
ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและการพัฒนาหลักสูตรดนตรี การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรดนตรี การกำหนดเนื้อหาและประสบการณ์ในการเรียนรู้ดนตรี การนำหลักสูตรดนตรีไปใช้และการประเมินผลหลักสูตรดนตรี
The theory of curriculum development, with a focus on music curriculum designing and development, including the analysis of necessary basic information for music curriculum development, the identification of music content and experiences, and the application of music curriculum and assessment.
675 202
แผนกลยุทธ์เชิงสร้างสรรค์ในธุรกิจดนตรี (Creative Strategic Plan in Music Business) 3(3-0-6)
การสร้างแผนทางธุรกิจดนตรีเชิงสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรและหน่วยงานด้านดนตรี การวิเคราะห์การทำธุรกิจเชิงสร้างสรรค์จากแหล่งข้อมูลเชิงวิชาการและบุคคลที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมดนตรี
Creating a creative music business plan that aligns with the needs of musical organizations or units; analyzing innovative business activities based on academic sources and prominent figures in the music industry.
675 203
การปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ในการแสดงดนตรี (Creative Practice in Music Performance) 3(0-6-3)
การปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ที่มีความร่วมมือระหว่างสาขาต่าง ๆ ของการแสดงดนตรี หรือ ดนตรีในแขนงอื่น วิธีการปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์ที่มีประสิทธิภาพนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติในการแสดงดนตรี
The creative collaboration of music performance with other sub-branches of music performance or related music disciplines, and the exploration of innovative methods for practical processes in music performance disciplines.
675 204
การประพันธ์ดนตรีสื่อผสมระดับดุษฎีบัณฑิต (Advanced Intermedia Composition) 3(3-0-6)
งานประพันธ์เพลงจากกระบวนการทำงานสร้างสรรค์ระดับดุษฎีบัณฑิตโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดนตรี คอมพิวเตอร์ขั้นสูง หรือแนวคิดจากศาสตร์ต่างแขนง
The composition of music through an advanced creative process that implements advanced music technology and computer applications, as well as concepts from other disciplines.
675 205
การวิจัยทางดนตรีวิทยา (Research in Musicology) 3(3-0-6)
กรอบและสาขาย่อยทางดนตรีวิทยา รูปแบบการวิจัยทางดนตรีวิทยาในสาขาย่อยต่าง ๆ
The scope of Musicology, including its various sub-fields, and research conducted within these sub-fields.
675 301
วิทยานิพนธ์ (Thesis) (มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
งื่อนไข : นักศึกษาต้องผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านดนตรีที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล
The research and development of musical knowledge in order to reflect an individual’s expertise.
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ที่อยู่ 22 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับสมัครเข้าศึกษาต่อได้ที่ http://www.graduate.su.ac.th/
• หากผู้สมัครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครหรือหลักสูตร
• ติดต่อได้ที คุณปัทมพร ใจห้าว คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
โทร. 0 2001 9292 Line ID : 0880962281
• วิธี/ขั้นตอนการสมัคร ติดต่อ บัณฑิตวิทยาลัย โทรศัพท์ 028497502, 0882292015