ประวัติคณะดุริยางคศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
เริ่มก่อตั้ง ค.ศ. 1998
คณะดุริยางคศาสตร์
Faculty of Music Silpakorn University
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ “โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยดำริของศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อำนวยการคนแรก คือเรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์
เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมในหลากหลายสาขาวิชาด้านดนตรี และอุตสาหกรรมบันเทิง ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต 6 วิชาเอก คือ ดนตรีคลาสสิก ดนตรีและสื่อสร้างสรรค์ ดนตรีแจ๊ส ดนตรีเชิงพาณิชย์ ละครเพลง และผู้ประกอบการดนตรีศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง 2 วิชาเอก คือ ดนตรีและธุรกิจบันเทิง และการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์ ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา และระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
คณะดุริยางคศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงในวิชาที่เรียน โดยเน้นสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน ณ สถานศึกษา และสถานที่สำคัญอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนับเป็นการบริการวิชาการ และส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หล่อหลอมให้บัณฑิตที่จบจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นบัณฑิตดนตรีวิถีศิลปากร “Silpakorn Music Style” ที่เปิดกว้างในแนวความคิด เสรีภาพทางความคิดบนพื้นฐานองค์ความรู้ หลักการแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎี การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดองค์ความรู้ใหม่บนความก้าวหน้าและพฤติกรรมตามสมัยนิยม เพื่อทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถบูรณาการข้ามศาสตร์ได้
หลักสูตรการศึกษา
– เอกดนตรีคลาสสิก
– เอกดนตรีและสื่อสร้างสรรค์
– เอกดนตรีแจ๊ส
– เอกดนตรีเชิงพาณิชย์
– เอกละครเพลง
– เอกผู้ประกอบการดนตรีศึกษา
2. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
– เอกธุรกิจดนตรีและบันเทิง
– เอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์
3. ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
– สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
4. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตร 3 ปี
– สาขาสังคีตวิจัยและพัฒนา
สีประจำคณะ – สีชมพู Color Pink
วิสัยทัศน์
” คณะดุริยางคศาสตร์ สรรค์สร้างดนตรี
นำนวัตกรรมสร้างบัณฑิตชั้นนำ เชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ”
พันธกิจ
คณะดุริยางคศาสตร์
M1
ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการแสดงดนตรี การผลิตผลงานสร้างสรรค์ด้านดนตรี
|
M2
ผลิตงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานนวัตกรรมทางดนตรี ที่สร้างมูลค่าประโยชน์ทางสังคม
|
M3
งานบริการวิชาการและทำนุฯ ที่สร้างมูลค่าประโยชน์ทางสังคม หรือสร้างผลตอบแทนการลงทุน
|