ประวัติคณะ

คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เริ่มก่อตั้ง ค.ศ. 1998

คณะดุริยางคศาสตร์

Faculty of Music Silpakorn University

คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยดำริของศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อำนวยการคนแรก คือเรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์   

เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 ปัจจุบันมีหลักสูตรครอบคลุมในหลากหลายสาขาวิชาด้านดนตรี และอุตสาหกรรมบันเทิง ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี  จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต 6 วิชาเอก คือ ดนตรีคลาสสิก ดนตรีและสื่อสร้างสรรค์ ดนตรีแจ๊ส ดนตรีเชิงพาณิชย์ ละครเพลง และผู้ประกอบการดนตรีศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง 2 วิชาเอก คือ ดนตรีและธุรกิจบันเทิง และการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์ ระดับปริญญาโท ได้แก่ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา และระดับปริญญาเอก ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา

คณะดุริยางคศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงในวิชาที่เรียน โดยเน้นสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน ณ สถานศึกษา และสถานที่สำคัญอื่น  อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนับเป็นการบริการวิชาการ และส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติได้ สิ่งต่าง  เหล่านี้หล่อหลอมให้บัณฑิตที่จบจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นบัณฑิตดนตรีวิถีศิลปากร “Silpakorn Music Style” ที่เปิดกว้างในแนวความคิด เสรีภาพทางความคิดบนพื้นฐานองค์ความรู้ หลักการแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎี การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการต่อยอดองค์ความรู้ใหม่บนความก้าวหน้าและพฤติกรรมตามสมัยนิยม เพื่อทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถบูรณาการข้ามศาสตร์ได้   

หลักสูตรการศึกษา

1. ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

เอกดนตรีคลาสสิก

เอกดนตรีและสื่อสร้างสรรค์

เอกดนตรีแจ๊ส

เอกดนตรีเชิงพาณิชย์

เอกละครเพลง

เอกผู้ประกอบการดนตรีศึกษา

2. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี

เอกธุรกิจดนตรีและบันเทิง

เอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์

3. ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา 2 ปี 

 สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา

4. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตร 3 ปี

–  สาขาสังคีตวิจัยและพัฒนา  

สีประจำคณะ – สีชมพู Color Pink

วิสัยทัศน์

” คณะดุริยางคศาสตร์ สรรค์สร้างดนตรี นำนวัตกรรมสร้างบัณฑิตชั้นนำ เชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ”

พันธกิจ

คณะดุริยางคศาสตร์

M1

 

ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการแสดงดนตรี การผลิตผลงานสร้างสรรค์ด้านดนตรี
และการบริหารธุรกิจดนตรีและบันเทิง ที่ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม

 

 

M2

 

ผลิตงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานนวัตกรรมทางดนตรี ที่สร้างมูลค่าประโยชน์ทางสังคม

 

 

 

M3

 

งานบริการวิชาการและทำนุฯ ที่สร้างมูลค่าประโยชน์ทางสังคม หรือสร้างผลตอบแทนการลงทุน

 

 

 

ค่านิยม

คณะดุริยางคศาสตร์