คณะดุริยางคศาสตร์ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 ภายใต้ชื่อ “โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร” โดยดำริของศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อำนวยการคนแรก คือ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ
คณะดุริยางคศาสตร์ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ต่อมาในปีการศึกษา 2543 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส ปีการศึกษา 2546 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรที่สาม ปีการศึกษา 2552 คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา ปีการศึกษา 2557 เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรดนตรีและธุรกิจบันเทิง
และปีการศึกษา 2562 เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
คณะดุริยางคศาสตร์ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ต่อมาในปีการศึกษา 2543 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส ปีการศึกษา 2546 เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรที่สาม ปีการศึกษา 2552 คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา ปีการศึกษา 2557 เพิ่มขึ้นอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรดนตรีและธุรกิจบันเทิง
และปีการศึกษา 2562 เปิดหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
หลักสูตรการศึกษา
1. ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
- เอกดนตรีคลาสสิก
- เอกดนตรีและสื่อสร้างสรรค์
- เอกดนตรีแจ๊ส
- เอกดนตรีเชิงพาณิชย์
- เอกละครเพลง
- เอกผู้ประกอบการดนตรีศึกษา
2. ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี
- เอกธุรกิจดนตรีและบันเทิง
- เอกการจัดการและพัฒนาไอดอลและอินฟลูเอนเซอร์
3. ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา 2 ปี
- สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
4. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) หลักสูตร 3 ปี
- สาขาสังคีตวิจัยและพัฒนา
สีประจำคณะ – สีชมพู Color Pink
การวิจัยและบริการทางวิชาการทางสังคม
คณะดุริยางคศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงในวิชาที่เรียน โดยเน้นสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ออกแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน ณ สถานศึกษาและสถานที่สำคัญอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนับเป็นการบริการวิชาการ และส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพดนตรีที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติได้
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หล่อหลอมให้บัณฑิตและมหาบัณฑิตที่จบจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความโดดเด่นทางด้านดนตรี ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการที่สามารถนำไปประกอบอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อ ตนเอง สังคมและประเทศชาติ
Vision
” คณะดุริยางคศาสตร์ สรรค์สร้างดนตรี นำนวัตกรรม สร้างบัณฑิตชั้นนำ เชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์”
Mission
M1 | M2 | M3 | M4 |
MUSIC SPECIALIST AND MULTIPOTENTIALITE | MUSIC VALUE ADDED IN CREATIVE AND RESEARCH | MUSIC SERVICE AND SUSTAINABLE DEVELOPMENT | MUSIC WORKFORCE MANAGEMENT GROWTH MINDSET |
ผลิตบัณฑิตที่เป็น Music-Specialist and Multipotentialite ผู้ที่มีความสามารถทางดนตรี | งานวิจัย งานสร้างสรรค์ และงานนวัตกรรมทางดนตรี ที่สามารถสร้างคุณค่าและมูลค่ | ศูนย์กลางในการให้บริการวิ | กล้าทำสิ่งใหม่ที่ไม่เคยทำ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และพัฒนาบุคลากร RESKILL (พัฒนาทักษะที่มีอยู่) UPSKILL (เสริมทักษะใหม่) NEWSKILL (สร้างทักษะใหม่) |