คณะดุริยางคศาสตร์เห็นความสําคัญของการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีสํานึกที่ดีต่อสังคม สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมไทยุในยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยน แปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างรวดเร็วและรุนแรง เป็นผู้ชี้นําทางความคิดของสังคม สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์งาน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายดังกล่าว ในหลักสูตรนี้ บทบาทและหน้าที่ของดนตรีคลาสสิกในศตวรรษที่ 21 จึงได้รับการทบทวนและคํานึงเกี่ยวกับ บทบาทและแนวทางการจัดการศึกษาที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน ตัดทอนกระบวนการเรียนรู้แบบท่องจํา ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนได้ตามสภาพจริงการเรียนการสอน ที่ปลูกฝังความเป็นผู้ที่มีความใฝ่รู้ พัฒนากระบวนการคิดขั้นสูงส่งเสริมการตั้งคําถาม และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความเชื่อและระเบียบวิธีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาอย่างยาวนานย่อมส่งผล ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
สาขาการแสดงดนตรีศึกษาเครื่องเอกดนตรีเอก หรือการขับร้องตามหลักวิชาการแสดงดนตรี มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะเครื่องดนตรี ผ่านทางการฝึกปฏิบัติเฉพาะเครื่องดนตรีโดยตรงกับอาจารย์ผู้สอน ควบคู่กับการพัฒนาด้านวิชาการ ทฤษฎีดนตรี ประวัติศาสตร์ดนตรี การประพันธ์เพลงและการเรียบเรียงเสียงประสาน อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การอบรมเชิงปฏิบัติการบรรเลงรวมวง เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะและศักยภาพด้านดนตรีอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ชือหลักสูตร: ดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแสดงดนตรี
ชื่อปริญญา ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (การแสดงดนตรี)
ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ 65,000 บาท และ ค่าบำรุงมหาวิทยาลัยภาคการศึกษาละ 4,000 บาท (เฉพาะชั้นปีที่ 1 มีค่าธรรมเนียมอื่นๆ 3,350 บาท) รายละเอียดเพิ่มเติม
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (expected learning outcomes) Cilck
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแสดงดนตรี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559)
ชือหลักสูตร: ดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแสดงดนตรี
ชื่อปริญญา ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (การแสดงดนตรี)
หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแสดงดนตรี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564)
ชือหลักสูตร: ดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการแสดงดนตรี
ชื่อปริญญา ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (การแสดงดนตรี)