23-25 March 2015
โรงเรียนศิลปะและการแสดงดนตรีแห่งชาติ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โครงการจัดตั้งเครื่อข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป เกิดขึ้นทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปี 2557 ที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาดนตรีแจ๊สไปเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มประเทศอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมทางด้านดนตรีกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียรมาร์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี 2558 ได้ทำโครงการต่อเนื่อง โดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี พ.ศ. 2558 ได้ทำโครงการต่อเนท่องโดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น ทางคณะดุริยางคศาสตร์ได้มีการออดิชั่นนักศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจ เข้าร่วมมาสมัครและทำการออดิชั่นตามกติกา โดยนักศึกษาจะต้องคัดเลือกเพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของประเทศไทยมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในสไตล์แจ๊ส และคัดเลือกเพลงประจำชาติของประเทศที่เราเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ด้วยเช่นกัน จากการคัดเลือกเราได้นักศึกษา 4 วง ไป 4 ประเทศด้วยกัน ซึ่งเพลงต่างๆ ที่นักศึกษาาได้นำไปเผยแพร่นั้น นักศึกษาแต่ละวงนั้นได้นำมาแสดงในงานเผยแพร่โดยการแสดงดนตรีภายในงานเผยแพร่ผลงาสร้างสรรค์ ระดับนานาชาติ ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้น
วงที่เดินทางไปแสดงที่โรงเรียนศิลปะและการแสดงดนตรีแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชาว ซึ่งก็ได้รับการสนใจเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยเพลงที่นำไปแสดงก็ได้แก่ เพลงดวงจำปา และเพลงเย็นสบายชาวนา ส่วนเพลงไทยที่วงนี้นำไปแสดงที่ประเทศลาวคือเพลงลำนำอีสาน เป็นเพลงแต่งใหม่ของนายฐิติวัฒน์ ตรีภพ ศิษย์เก่าของคณะดุริยางคศาสตร์ ที่นำแนวคิดจากเพลงหมอลำของทางอีสานแต่งขึ้นใหม่ให้เป็นเพลงแจ๊ส
เพลงดวงจำปา หรือเพลงจำปาเมืองลาว อุตมะ จุลมณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว แต่งขึ้นเพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนลาว โดยใช้ดอกจำปา หรือดอกลั่นทม เป็นสื่อบอกถึงความรักแผ่นดินเกิด และใช้ทำนองขับทุ้มหลวงพระบาางมาเป็นทำนองเพลงนี้
เพลงเย็นสบายชาวนา มีเนื้อร้อง ทำนองที่บอกถึงวิถีชีวิตของชาวลาว ที่มีความสุขกับการทำงานด้านการเกษตร ทำให้ผู้ฟังเกิดความสุขใจ อบอุ่นใจ มีความเป็นมิตรภาพ เมื่อหลายสิบปีก่อนที่เป็นเพลงที่นิยมกันมากในประเทศไทย
ทั้งสองเพลงเป็นเพลงที่ประชาชนคนลาวรู้จักเป็นอย่างดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถร้องตามได้ ทางนักศึกษาจึงได้เลือกทั้ง 2 เพลงนี้นำไปเล่น โดยมีการเรียบเรียงเพลงให้มีคีตลักษณ์ที่เป็นดนตรีแจ๊สและเปลี่ยนรูปแบบของจังหวะใหม่ และเชิญให้นักเรียนจากโรงเรียนศิลปะและการแสดงดนตรีแห่งชาติขึ้นมาร่วมกันทั้งร้องเพลงทั้ง 2 เพลง เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ได้มีส่วนร่วม และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้ง 2 ชาติ
ซึ่งนักศึกษาทุกวงที่เดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ นอกจากได้เผยแพร่ดนตรีของไทยผ่านรูปแบบดนตรีแจ๊สแล้ว เรายังได้มิตรภาพจากประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่เราไปเยือนผ่านเพลงพื้นเมืองของประเทศนั้นๆ ที่เราได้เรียบเรียงใหม่ ซึ่งทางเราก็นำผลงานเพลงที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาแสดงยังงานเผยแพร่นานาชาติ เพื่อแสดงให้กับทุกๆท่านที่มาร่วมงานได้รับชมและฟัง พร้อมบอกเล่าถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับในการเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีพื้นบ้านยังประเทศเพื่อนบ้านที่ตนเองได้ไปให้กับผู้เข้าร่วมงานได้ฟัง