Standard English Language Proficiency Requirement
Standard English Language Proficiency requirements criteria for Thesis defense examination of master’s degree program and doctoral degree must have one of the English Language proficiency test score that meet score equivalent to the B2 level of CEFR
RF | TOEIC (Listening and Reading Test) | TOEFL iBT | TOEFL ITP | IELTS (band scores) | Cambridge English | Oxford Online Placement Test | CU-TEP |
---|---|---|---|---|---|---|---|
A1 | 120-220 | N/A | N/A | N/A | 100-119 | 0-20 | N/A |
A2 | 225-545 | N/A | 337-459 | N/A | 120-139 | 21-40 | 14-34 |
B1 | 550-780 | 42-71 | 460-542 | 4-5 | 140-159 | 41-60 | 35-69 |
B2 | 785-940 | 72-94 | 543-626 | 5.5-6.5 | 160-179 | 61-80 | 70-98 |
C1 | 945-990 | 95-120 | 627-677 | 7-8 | 180-199 | 81-100 | 99-120 |
C2 | n/a | 95-120 | N/A | 9 | 200-230 | 101-120 | N/A |
The English test score with a 2-year validity period only shall be qualified.
In case students’ scores are below the minimum requirement, they are required to enroll in the English courses that suit their score level and are to pass such courses before taking Thesis defense examination. Students may take intensive courses and must be present for at least 80% of the class time and with the result “Satisfactory”.
A1 : register for 3 courses | ENG101, ENG102, ENG103
A2: register for 2 courses | ENG102, ENG103
B1 : register for 1 course | ENG103
Silpakorn Music Students and Alumi were nomianted in the 16th Kom Chad Luek Awards
Kom Chad Luek has announced nominations for the 16th Kom Chad Luek Awards. Silpakorn Music students and alumni were nominated in major categories: Best New Artist, Best Group Performance and Best Male Vocalist.
Supergood and Rootsman Creation, alumni of Silpakorn Music, were nominated in Best New Artist and Best Group Performance.
Washiravit Geenkerd, Maimon, the winner of The Voice Thailand Season 6, was nominated in Best Male Vocalist.
the 16th Kom Chad Luek Awards will be held Tuesday, March 3 at Thailand Cultural Centre, Bangkok.
Read Moreนักศึกษาแจ๊สศิลปากรคว้ารางวัลชนะเลิศ 2019 Hengqin Cup Jazz Competition
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิชัย เลิศสถากิจ คณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ และ อาจารย์ชนุตร์ เตชธนนันท์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ นำนักศึกษาสาขาดนตรีแจ๊ส เข้าร่วมการแข่งขัน 2019 Hengqin Cup Jazz Competition ณเมืองจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน โดยนักศึกษาสาขาดนตรีแจ๊สคว้ารางวัลชนะเลิศสามประเภท ได้แก่
นายชาติสยาม คีรีพัฒน์ ชนะเลิศในประเภท Individual รับเงินรางวัล 10,000 หยวน
นายปรีดิพัทธ์ คำพันธ์ ชนะเลิศในประเภท Sun-rising Drummer
นายชาติสยาม คีรีพัฒน์ (Saxophone) นายปฏิภาณ ชื่นชอบ (Bass) นายกนกพงศ์ ตันติเสวี (Piano) นายธนพัฒน์ อนันตกฤตยาธร (Electric Guitar) และ นายปรีดิพัทธ์ คำพันธ์ (Drum) ชนะเลิศประเภท Ensemble รับเงินรางวัล 30,000 หยวน
Read MoreSILPASEAN Vol.2 – Leadsheets
SILPASEAN Vol.2
Thailand – Loy Krathong
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Brunei – Cabuk-cabuk Bertali Rambai
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Cambodia – Bos Choung Khmer Song
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Indonesia – Kampuang Nan Jauh Di Mato
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Malaysia – Selamat Hari Raya
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Philippines – Pandangguhan
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Vietnam – Inh Lả Ơi-be Xuân Mai
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Lao – Souk San Van Pi Mai
Arranged by : Pairach Lukchan
Singapore – Home
Arranged by : Pairach Lukchan
Myanmar – Mann Taung Yek Kho
Arranged by : Pairach Lukchan
ASEAN Music Network 2016 in Songkhla Rajabhat University
17 May 2016
Songkhla Rajabhat University : Thailand
SILPASEAN Leadsheets and Scores
SILPASEAN – An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej
Title | VDO | Song |
H.M. Blues arranged by Pairach Lukchan | ||
Magic Beam arranged by Tanarat Chaichana | ||
Oh I Say arranged by Thanapon Yongpho and Kittitach Sumpowthong |
Music Scores
H.M. Blues
| |
Alexandra | Alexandra-score-all |
Dream Island | |
Never Mind the Hungry Men’s Blues | ดวงใจกับความรัก-never-mind-the-hungry-mens-blues-Score-and-parts ดวงใจกับความรัก never mind the hungry men’s blues – Dan BAo – 2017-02-15 1448 – Dan BAo |
Love in Spring | Love-in-spring-Score-and-parts Love in spring – Saung (พิณพม่า) – 2017-02-15 1519 – Saung (พิณพม่า) |
Magic Beams | Magic Beams – Dan Bao – 2017-02-15 1457 – Dan Bao |
New Year Greeting | |
Near Dawn | |
Love at Sundown | |
Oh I Say | |
When | |
Read More
2016 – 2017 SILPASEAN – An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej
2016 – 2017 SILPASEAN
An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej
วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ มีการแลกเปลี่ยนร่วมกันมาแต่โบราณและพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของ
แต่ละสังคม ความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน มีผลต่อสภาวะความอยู่รอด-การปรับเปลี่ยนและความสูญหายของดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ ทำให้ดนตรีพื้นบ้านในภูมิภาคนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการศึกษา เก็บข้อมูล วิเคราะห์แยกแยะ และสร้างระบบการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะของห้องสมุดเสียงดิจิตอล หรือฐานข้อมูลโน้ตเพลง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาระยะยาวและการพัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมดนตรีทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เห็นความจำเป็นในการสร้างศูนย์เครือข่ายดนตรีดิจิตอล โดยเลือกองค์กรทางการศึกษาหรือองค์กรที่เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมดนตรีที่เป็นตัวแทนในแต่ละประเทศ และสร้างความร่วมมือกับนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญระบบการเก็บข้อมูลดนตรีพื้นบ้าน เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ และระบบการใช้งานเทคโนโลยีดนตรีที่เกี่ยวกับเสียง การบันทึกโน้ต-บันทึกภาพ-บันทึกภาพเคลื่อนไหว ผ่านการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้ การทำโครงงานร่วมกัน และการพัฒนาแนวทางสื่อดิจิตอล อันจะนำไปสู่การสังเคราะห์ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านของอุษาคเนย์ ตลอดจนการพัฒนาไปสู่การสร้างงานสร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับแต่ละสังคมวัฒนธรรม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 คณะฯได้นำบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นบทเพลงตัวแทนของประเทศไทยในการบูรณาการความรู้เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีที่งดงามของประเทศในกลุ่มอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำผลงานบทเพลงพระราชนิพนธ์ โดยการบูรณาการความรู้เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนมาบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความสวยงามทางวัฒนธรรมต่อกัน โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ประสานงานเครือข่าย ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
2. เพื่อสร้างฐานความรู้ ประสบการณ์ร่วมของบุคลากรดนตรีอาเซียน ที่จะนำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้ ทางดนตรีวิทยา มานุษยวิทยาดนตรี เทคโนโลยีดนตรี และงานประพันธ์ดนตรีแนวสร้างสรรค์
3. เพื่อยกระดับและสร้างมาตรฐานในการศึกษาดนตรีในประเทศไทย ให้มีความรู้เท่าเทียมเพื่อนบ้าน มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองขึ้นเป็นผู้นำทางด้านวัฒนธรรมดนตรี สำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยศิลปากรสู่สังคมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
รูปแบบการดำเนินงาน
การจัดตั้งเครือข่ายสถาบันการศึกษา เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป นำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนและเครื่องดนตรีไทยมาใช้ในการเรียบเรียงเพลงพระราชนิพนธ์ จัดทำซีดีบทเพลงพระราชนิพนธ์ภายใต้ชื่อ SILPASEAN: An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej โดยเชิญนักดนตรีในประเทศเครือข่ายอาเซียน ได้แก่ Ms. LE THUY LINH จากประเทศเวียดนาม และ Mr. Aung Pyae Son จากประเทศเมียนมา นอกจากนี้ได้สร้างความร่วมมือกับ Faculty of Fine Arts, University of Agder (UiA), Kristiansand Norway สนับสนุนให้ศิลปินและผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงในผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรี SILPASEAN นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ ศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบันของคณะฯ ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน โดยได้ร่วมมือกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจัดการแสดงผลงานดังกล่าวในโครงการ Asean Music Event ซึ่งเป็นการนำเครื่องดนตรีจากประเทศสมาชิกในอาเซียนมาบรรเลงและแสดงในงาน Tribute to His Majesty King Bhumibol Adulyadej Concert
การแสดง Tribute to His Majesty King Bhumibol Adulyadej Concert
โครงการแสดงดนตรีบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสาร์ที่ 18 มีนาคม 2560 เวลา 17.00 – 22.00 น.
ลานด้านหน้า หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครขอเชิญทุกท่านร่วมน้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน ในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแวดวงดนตรีของประเทศไทย เชิญร่วมชมการแสดงคอนเสิร์ตจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรรเลงโดยคณาจารย์และนักศึกษาจาก 5 สถาบัน ได้แก่
C.U. Clarinet Ensemble จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Kasetsart Wind Symphony Orchestra ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Rangsit University Jazz Orchestra วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
ศิลปะเซียน คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Pomelo Town วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เพื่อเป็นการร่วมน้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน ในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแวดวงดนตรีของประเทศไทย คณะฯได้นำบทเพลง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นบทเพลงตัวแทนของประเทศไทยในการบูรณาการความรู้เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีที่งดงามของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยจัดแสดงการแสดงดนตรีบทเพลงพระราชนิพนธ์ โดยนักศึกษาดนตรี และอาจารย์ จาก 5 สถาบัน ได้แก่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 3. ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต และ 5. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรูปแบบวงฯ ที่แตกต่างกันไป เพื่อเป็นการแสดงถึงแรงบันดาลใจ ที่เหล่าเยาวชนนักศึกษาดนตรีได้รับจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อเป็นการถวายความเคารพในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในฐานะองค์อัครศิลปิน รวมทั้งพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแวดวงดนตรีของประเทศไทย
การแสดงนี้เป็นการแสดงผลงานดนตรีซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอาเซียน เช่น ด่านบ๋าว จากประเทศเวียดนาม กุลินตางัน จากประเทศบรูไน อังกะลุง จากประเทศอินโดนีเซีย และระนาด จากประเทศไทย มาผสมผสานกับการเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในสไตล์ดนตรีแจ๊สซึ่งยังไม่เคยมีที่ไหนทำมาก่อน โดยจะนำแสดงในวันที่ 18 มีนาคม 2560 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพบรรยากาศการอัดเสียง
https://www.flickr.com/photos/music_silpakorn/albums/72157676915572604
ภาพบรรยากาศการแสดง
https://www.flickr.com/photos/music_silpakorn/albums/72157697165737954
ดาวน์โหลดปกซีดีเพลง
https://drive.google.com/open?id=0BxV68uxHQaa_Nl9UZlM0T1RsMzg
วีดีโอคอนเสิร์ต
HM Blues: https://www.youtube.com/watch?v=R3zWe1tfM2s&index=18&list=PLda0U6W-9Hc4SinNV00RIlBtz8HxRSNXs
OH I Say: https://www.youtube.com/watch?v=Ace5LZfSwEU
Magic Beam: https://www.youtube.com/watch?v=U9OaNyNas08&t=3s
เบื้องหลังการอัดเพลง
OH I say : https://youtu.be/CQLiF2EctjM
ASEAN Music Network 2015 in Cambodia
9-11 March 2015
The Royal University of Fine Art in PHANOMPEHN : Cambodia
โครงการจัดตั้งเครื่อข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป เกิดขึ้นทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปี 2557 ที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาดนตรีแจ๊สไปเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มประเทศอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมทางด้านดนตรีกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียรมาร์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี 2558 ได้ทำโครงการต่อเนื่อง โดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี พ.ศ. 2558 ได้ทำโครงการต่อเนท่องโดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น ทางคณะดุริยางคศาสตร์ได้มีการออดิชั่นนักศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจ เข้าร่วมมาสมัครและทำการออดิชั่นตามกติกา โดยนักศึกษาจะต้องคัดเลือกเพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของประเทศไทยมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในสไตล์แจ๊ส และคัดเลือกเพลงประจำชาติของประเทศที่เราเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ด้วยเช่นกัน จากการคัดเลือกเราได้นักศึกษา 4 วง ไป 4 ประเทศด้วยกัน ซึ่งเพลงต่างๆ ที่นักศึกษาาได้นำไปเผยแพร่นั้น นักศึกษาแต่ละวงนั้นได้นำมาแสดงในงานเผยแพร่โดยการแสดงดนตรีภายในงานเผยแพร่ผลงาสร้างสรรค์ ระดับนานาชาติ ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้น
วงที่เดินทางไปแสดงที่ The Royal University of Fine Arts พนมเปญ ราชอาณาจักกัมพูชา ได้นำเอกลักษณ์ของไทยจากทางภาคใต้ โดยการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงโนราห์ใหม่ในสไตล์ของแจ๊สไปเผยแพร่ และได้เลือกเพลง Svay Chanty และ Arappiya ที่เป็นเพลงร้องประกอบรำวงของกัมพูชาที่คงความเอกลักษณ์ของประเทศดังกล่าวไปแสดง
เพลงไทยที่วงเรียบเรียงใหม่ คือ เพลงประกอบการแสดงโนราห์ของทางภาคใต้ของไทย คือ เพลงโนราห์รำบท เป็นเพลงที่ใช้ในช่วงการปล่อยตัวนางรำออกรำ ซึ่งเดิมใช้เครื่องดนตรีประกอบ ได้แก่ ทับ กลอง ปี่ ฉิ่ง โหม่ง แตร ซึ่งใช้ปี่ในการดำเนินทำนอง และเครื่องกระทบประกอบจังหวัในการคุมจังหวะลีลาการรำ ในส่วนของวงดนตรีแจ๊ส ได้นำเครื่องดนตรีสากลมาประสมวง ได้แก่ แซ็กโซโฟน กีต้าร์ เบส เปียโน กลองชุด และนำทำนองเดิมของเพลงโนราห์มาใช้ ช่วงเริ่มเพลงใช้เครื่องดนตรีโซปราโนแซ็กโซโฟนบรรเลงเดี่ยวใช้แทนปี่ เป็น Rubato เลียนแบบทำนองเดิม เมื่อเข้าทำนองหลักมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจังหวะเป็นลักษณะจังหวะที่ยืดขยายล่องลอ และเพิ่มเสียงประสานที่เป็นแจ๊สใส่เข้าไปใหม่ทั้งเพลง ซึ่งเพลงในรูปแบบเดิมนั้นมีแค่แนวทำนองและจังหวะประกอบเท่านั้น
เพลง Svay Chanty และเพลง Arappiya ถือเป็นเพลงพื้นเมืองที่คนกัมพูชานิยมร้องเล่นกันมาก หากเทียบกับของไทยจะจัดอยู่ในรูปแบบของเพลงรำวง ซึ่งในกัมพูชาก็ได้นำทั้งสองเพลงนี้มาเรียบเรียงดนตรีใหม่นรูปแบบที่หลากหลาย โดยนักศึกษาแจ๊สก็ได้นำทั้งสองเพลงมาเรียบเรียงโดยเพิ่มเสียงประสานที่เป็นดนตรีแจ๊ส แต่ยังคงท่วงทำนองและท่อนเพลงไว้เพื่อให้สามารถเชิญนักศึกษาจาก The Royal University of Fine Arts ขึ้นมามีส่วนร่วมในการแสดงเพลงนี้ทั้งร้องและรำประกอบ ซึ่งได้รับการชื่นชอบจากนักศึกษาและอาจารย์ที่นั่นเป็นอย่างมาก