9-11 March 2015
The Royal University of Fine Art in PHANOMPEHN : Cambodia
โครงการจัดตั้งเครื่อข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป เกิดขึ้นทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปี 2557 ที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาดนตรีแจ๊สไปเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มประเทศอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมทางด้านดนตรีกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียรมาร์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี 2558 ได้ทำโครงการต่อเนื่อง โดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี พ.ศ. 2558 ได้ทำโครงการต่อเนท่องโดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น ทางคณะดุริยางคศาสตร์ได้มีการออดิชั่นนักศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจ เข้าร่วมมาสมัครและทำการออดิชั่นตามกติกา โดยนักศึกษาจะต้องคัดเลือกเพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของประเทศไทยมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในสไตล์แจ๊ส และคัดเลือกเพลงประจำชาติของประเทศที่เราเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ด้วยเช่นกัน จากการคัดเลือกเราได้นักศึกษา 4 วง ไป 4 ประเทศด้วยกัน ซึ่งเพลงต่างๆ ที่นักศึกษาาได้นำไปเผยแพร่นั้น นักศึกษาแต่ละวงนั้นได้นำมาแสดงในงานเผยแพร่โดยการแสดงดนตรีภายในงานเผยแพร่ผลงาสร้างสรรค์ ระดับนานาชาติ ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้น
วงที่เดินทางไปแสดงที่ The Royal University of Fine Arts พนมเปญ ราชอาณาจักกัมพูชา ได้นำเอกลักษณ์ของไทยจากทางภาคใต้ โดยการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงโนราห์ใหม่ในสไตล์ของแจ๊สไปเผยแพร่ และได้เลือกเพลง Svay Chanty และ Arappiya ที่เป็นเพลงร้องประกอบรำวงของกัมพูชาที่คงความเอกลักษณ์ของประเทศดังกล่าวไปแสดง
เพลงไทยที่วงเรียบเรียงใหม่ คือ เพลงประกอบการแสดงโนราห์ของทางภาคใต้ของไทย คือ เพลงโนราห์รำบท เป็นเพลงที่ใช้ในช่วงการปล่อยตัวนางรำออกรำ ซึ่งเดิมใช้เครื่องดนตรีประกอบ ได้แก่ ทับ กลอง ปี่ ฉิ่ง โหม่ง แตร ซึ่งใช้ปี่ในการดำเนินทำนอง และเครื่องกระทบประกอบจังหวัในการคุมจังหวะลีลาการรำ ในส่วนของวงดนตรีแจ๊ส ได้นำเครื่องดนตรีสากลมาประสมวง ได้แก่ แซ็กโซโฟน กีต้าร์ เบส เปียโน กลองชุด และนำทำนองเดิมของเพลงโนราห์มาใช้ ช่วงเริ่มเพลงใช้เครื่องดนตรีโซปราโนแซ็กโซโฟนบรรเลงเดี่ยวใช้แทนปี่ เป็น Rubato เลียนแบบทำนองเดิม เมื่อเข้าทำนองหลักมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจังหวะเป็นลักษณะจังหวะที่ยืดขยายล่องลอ และเพิ่มเสียงประสานที่เป็นแจ๊สใส่เข้าไปใหม่ทั้งเพลง ซึ่งเพลงในรูปแบบเดิมนั้นมีแค่แนวทำนองและจังหวะประกอบเท่านั้น
เพลง Svay Chanty และเพลง Arappiya ถือเป็นเพลงพื้นเมืองที่คนกัมพูชานิยมร้องเล่นกันมาก หากเทียบกับของไทยจะจัดอยู่ในรูปแบบของเพลงรำวง ซึ่งในกัมพูชาก็ได้นำทั้งสองเพลงนี้มาเรียบเรียงดนตรีใหม่นรูปแบบที่หลากหลาย โดยนักศึกษาแจ๊สก็ได้นำทั้งสองเพลงมาเรียบเรียงโดยเพิ่มเสียงประสานที่เป็นดนตรีแจ๊ส แต่ยังคงท่วงทำนองและท่อนเพลงไว้เพื่อให้สามารถเชิญนักศึกษาจาก The Royal University of Fine Arts ขึ้นมามีส่วนร่วมในการแสดงเพลงนี้ทั้งร้องและรำประกอบ ซึ่งได้รับการชื่นชอบจากนักศึกษาและอาจารย์ที่นั่นเป็นอย่างมาก