เอกดนตรีคลาสสิกมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเป็นเลิศทางด้านดนตรี สามารถประยุกต์และปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมโดยการจัดการศึกษาให้เหมาะสมต่อผู้เรียน กล่าวคือผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาทักษะด้านการแสดง การประพันธ์และการสอนดนตรีตามความถนัดส่วนบุคคลได้ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด ของคณาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมทำกิจกรรมทั้งในชั้นเรียนและภายนอก เพื่อพัฒนาความสามารถด้านดนตรีต่อไป
วิชาเอกดนตรีคลาสสิก
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต Bachelor of Music ชื่อเต็มภาษาไทย ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ชื่อย่อภาษาไทย ดศ.บ. ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Music ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.M. วิชาเอก ดนตรีคลาสสิก จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาการ 4 ปี ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้
วิชาเอกดนตรีคลาสสิก
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
SU101 | ศิลปะศิลปากร | 3(3-0-6) |
SU201 | ภาษาอังกฤษในยุคดิจิทัล | 3(2-2-5) |
SU301 | พลเมืองตื่นรู้ | 3(3-0-6) |
SUXXX | วิชาเลือก หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 3 |
660 101 | ทฤษฎีดนตรีและโสตทักษะ 1 | 3(2-2-5) |
660 102 | ทักษะคีย์บอร์ด 1 | 1(0-2-1) |
661 101 | เครื่องเอก 1 | 2(0-4-2) |
661 102 | การรวมวง 1 | 1(0-2-1) |
661 103 | การฝึกซ้อมการแสดง 1 | 1(0-2-1) |
รวมจำนวน | 20 |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
SU102 | ศิลปากรสร้างสรรค์ | 3(3-0-6) |
SU202 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ | 3(2-2-5) |
SU203 | ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ | 3(3-0-6) |
SU401 | ความเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม | 3(3-0-6) |
660 103 | ทฤษฎีดนตรีและโสตทักษะ 2 | 3(2-2-5) |
660 104 | ทักษะคีย์บอร์ด 2 | 1(0-2-1) |
660 105 | ดนตรีดิจิทัลและเทคโนโลยี | 2(1-2-3) |
661 104 | เครื่องเอก 2 | 2(0-4-2) |
661 105 | การรวมวง 2 | 1(0-2-1) |
661 106 | การฝึกซ้อมการแสดง 2 | 1(0-2-1) |
รวมจำนวน | 22 |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
SU402 | นวัตกรรมและการออกแบบ | 3(3-0-6) |
SUXXX | วิชาเลือก หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 3 |
660 201 | ประวัติศาสตร์ดนตรี | 2(2-0-4) |
660 202 | หลักธุรกิจดนตรีเบื้องต้น | 2(2-0-4) |
661 201 | เครื่องเอก 3 | 2(0-4-2) |
661 202 | การรวมวง 3 | 1(0-2-1) |
661 203 | การฝึกซ้อมการแสดง 3 | 1(0-2-1) |
661 204 | การวิเคราะห์บทเพลงด้วยโสต | 2(1-2-3) |
661 205 | ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมดนตรี 1 | 2(2-0-4) |
661 206 | ทักษะการบรรเลงเปียโนประกอบ 1 | 1(0-2-1) |
รวมจำนวน | 19 |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
660 203 | การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจดนตรี | 2(2-0-4) |
660 204 | การสนทนาและการอ่านภาษาอังกฤษ | 3*(2-2-5) |
661 207 | เครื่องเอก 4 | 2(0-4-2) |
661 208 | การรวมวง 4 | 1(0-2-1) |
661 209 | การฝึกซ้อมการแสดง 4 | 1(0-2-1) |
661 210 | คีตปฏิภาณเบื้องต้นสำหรับดนตรีคลาสสิก | 2(1-2-3) |
661 211 | ประวัติศาสตร์และวรรณกรรมดนตรี 2 | 2(2-0-4) |
661 212 | ทักษะการบรรเลงเปียโนประกอบ 2 | 1(0-2-1) |
661 213 | รูปแบบและการวิเคราะห์ | 2(1-2-3) |
วิชาเอกเลือก หมวดวิชาเฉพาะ | 2 | |
รวมจำนวน | 15 |
หมายเหตุ * หมายถึง รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยไม่นับหน่วยกิตและวัดผลการศึกษาเป็น S หรือU
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
660 301 | การเขียนภาษาอังกฤษสำหรับดนตรี | 3*(2-2-5) |
660 302 | เนื้อหาสำหรับการตลาดดิจิทัล | 2(2-0-4) |
660 303 | โครงการความร่วมมือระหว่างวิชาเอก | 2(1-2-3) |
660 304 | การแสดงบนเวที | 2(0-4-2) |
661 301 | เครื่องเอก 5 | 2(0-4-2) |
661 302 | การรวมวง 5 | 1(0-2-1) |
661 303 | การรวมวงเชมเบอร์ 1 | 1(0-2-1) |
661 304 | การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา | 2(1-2-3) |
661 305 | หลักการวิจัยทางดนตรี | 2(2-0-4) |
665 102 | การเต้นบัลเลต์และการเต้นแจ๊ส 1 | 1(0-2-1) |
วิชาเอกเลือก หมวดวิชาเฉพาะ | 2 | |
รวมจำนวน | 17 |
ปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
660 305 | โครงการชั้นปีที่ 3 | 3(1-4-4) |
661 306 | เครื่องเอก 6 | 2(0-4-2) |
661 307 | การรวมวง 6 | 1(0-2-1) |
661 308 | การรวมวงเชมเบอร์ 2 | 1(0-2-1) |
661 309 | การฝึกงานสำหรับดนตรีคลาสสิก | 6*(ไม่น้อยกว่า 270 ชั่วโมง) |
วิชาเอกเลือก หมวดวิชาเฉพาะ | 4 | |
วิชาเลือกเสรี | 2 | |
รวมจำนวน | 13 |
หมายเหตุ * หมายถึง รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยไม่นับหน่วยกิตและ
วัดผลการศึกษาเป็นS หรือ U
ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
660 401 | สัมมนาเชิงปฏิบัติการ | 2(1-2-3) |
661 401 | เครื่องเอก 7 | 2(0-4-2) |
661 402 | การรวมวง 7 | 1(0-2-1) |
วิชาเอกเลือก หมวดวิชาเฉพาะ | 6 | |
วิชาเลือกเสรี | 2 | |
รวมจำนวน | 13 |
ปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
รหัสวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (บ – ป – น) |
661 403 | โครงการสำเร็จการศึกษาสำหรับดนตรีคลาสสิก | 3(1-4-4) |
วิชาเอกเลือก หมวดวิชาเฉพาะ | 6 | |
วิชาเลือกเสรี | 2 | |
รวมจำนวน | 11 |
Major
- Bassoon
- Cello
- Clarinet
- Double Bass
- Electone
- Euphonium
- Flute
- French Horn
- Guitar
- Oboe
- Percussion
- Piano
- Saxophone
- Trombone
- Trumpet
- Tuba
- Viola
- Violin
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
- นักดนตรี
- ผู้สอนดนตรี
- นักวิชาการดนตรี
- นักวิจารณ์ดนตรี
- ผู้ตัดสินดนตรี
Feroci Philharmonic Winds
วงดุริยางค์เครื่องลมเฟโรซีฟิลฮาร์โมนิค Feroci Philharmonic Winds ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 โดยอาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ คณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อการระลึกถึงเกียรติคุณของท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยจัดการแสดงคอนเสิร์ต อีกทั้งยังคัดสรรบทเพลงที่มีชื่อเสียงของท่านมาแสดง อาทิ “Extreme Beethoven” “Songs from the Catskills” และ “Klezmer Classic” เป็นต้น รวมถึงการนำบทเพลงอันยิ่งใหญ่ทั้งของไทยและต่างประเทศ โดยมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมทางดนตรี ใช้เครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีสากล และนักพากย์ ร่วมกันบรรเลงในแบบไทยร่วมสมัย และเพื่อเป็นการสานต่อปณิธานในการก่อตั้งวงดุริยางค์เครื่องลมอาชีพขึ้นเป็นวงแรกในประเทศไทย วงดุริยางค์เครื่องลมเฟโรซีฟิลฮาร์โมนิค Feroci Philharmonic Winds จึงได้รับเกียรติจากวาทยากรที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิ Johan de Meij, Bert Appermont, Yasuhide Ito และอาจารย์ดำริห์ บรรณวิทยกิจ เป็นต้น
Silpakorn Summer Music School
ค่ายดนตรีฤดูร้อนที่เปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีได้มาฝึกซ้อมและเล่นดนตรีร่วมกับนักดนตรีมืออาชีพ และวาทยากรระดับโลก ฮิโคทาโร ยาซากิจ วาทยกรชาวญี่ปุ่นผู้มีชื่อเสียงระดับโลก นำเสนอผ่านบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นพิเศษ
Silpakorn International Guitar Festival & Music Camp
โครงการค่ายดนตรีกีต้าร์คลาสสิกที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสฝึกทักษะการเล่นกีต้าร์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเล่นในโอกาสต่างๆ และเพื่อฝึกพัฒนาศักยภาพ ไปสู่การแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
Silpakorn Music Teacher Training
เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนในรายวิชากลวิธีการสอนดนตรีเบื้องต้นได้มีประสบการณ์สอนดนตรีให้กับบุคคลภายนอก เป็นฝึกเรื่องทฤษฎีการสอนและจิตวิทยาการสอนดนตรี ซึ่งกิจกรรมการฝึกนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพการเรียนการสอนดนตรีในสถานการณ์จริงนอกเหนือจากการเรียนรู้เนื้อหาสาระในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญ ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพครูได้อย่างมีหลักการ
Percussion Academy by Silpakorn Percussion Group
กิจกรรมที่เปิดรับสมัครนักเรียนกลุ่มเครื่องดนตรี Percussion จากสถาบันการศึกษาระดับมัธยม เดือนละ 1 กลุ่มได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะ ฝึกฝนการเล่นเครื่อง Percussion ภายใต้การควบคุมและฝึกสอนโดยอาจารย์และนักศึกษา จากคณะดุริยางคศาสตร์ ม.ศิลปากร