Life at SUFM
Life at SUFM
การจัดกิจกรรมให้นักศึกษาของคณะดุริยางค์ฯ ให้บริการวิชาการด้านดนตรีแก่สังคมและชุมชนของมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอก นับเป็นโอกาสที่ดี ในการพัฒนาบุคลิคภาพ การแสดงออกทางสังคมที่เหมาะ และมีจิตใจกว้างขวางยอมรับผู้อื่น ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่ดีในการเป็นพลเมืองที่ดีต่อไป
นักศึกษาจะได้รับโอกาสเข้าร่วมวงดนตรีกับคณาจารย์ กับศิษย์เก่า และวิทยากรรับเชิญที่มีชื่อเสียงทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ นอกจากนั้นทางคณะฯก็มีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในประจำปี เพื่อสานสัมพันธ์ศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุปัน ภายใต้การบริหารจัดการชองกรรมการนักศึกษาของคณะฯ กิจกรรมการแข่งขันดนตรีวงเวอร์ริเดียนประจำปี กิจกรรมรับน้องใหม่เชิงสร้างสรรค์ และกิจกรรม Playing Sound Around Arts ที่จัดร่วมกับคณะจิตรกรรมฯเป็นต้น
Read More
Learning and Performance Opportunities
นักศึกษาที่ได้รับค้ดเลือกเข้าศึกษาที่คณะดุริยางคศาสตร์ฯ จะได้ศึกษากับคณาจารย์ระดับแนวหน้าของไทย และได้เข้าร่วมกิจกรรมวงดนตรีของสาขาต่างๆ ดังต่อไปนี้
สาขาการแสดงดนตรี (ดนตรีคลาสสิก)
1. SU String Chamber Orchestra ควบคุมการฝึกซ้อมโดย Mr. Leo Phillips และ อ.ทัศนา นาควัชระ
2. SU Symphonic Band ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.วรพล กาญจน์วีระโยธิน อ,สุปรีติ อังศวานนท์ และ อ.นาวี หงสกุล
3. SU Chamber Winds ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.ดำริห์ บรรณวิทยกิจ
4. SU Brass Ensemble ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.สุปรีติ อังศวานนท์
5. SU Percussion Ensemble ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.เผ่าพันธ์ อำนาจธรรม
6.SU Guitar Ensemble ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.พงษ์พัฒน์ พงษ์ประดิษฐ์ และ ผศ.ดร.เอกราช เจรืญนิตย์
7. Silpakorn University Orchestra ควบคุมการฝึกซ้อมโดย คณาจารย์
สาขาดนตรีแจ๊ส
1. SU Jazz Orchestra ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.วุฒิชัย เลิศสถากิจ
2. SU Jazz Combo ควบคุมการฝึกซ้อมโดย คณาจารย์สาขาแจ๊ส
3. SU Jazz A Cappella ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.รัตนะ วงศ์สรรเสริญ และ อ.กิตติธัช สำเภาทอง
สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์
1. วงบางไก่เตี้ย ร้องนำโดย อิฐ ตีสิบ ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.ชัยบรรฑิต พืชผลทรัพย์ และ อ.กานต์ สุริยาศศิน
2.วง SU Commercial Music Combo ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.ชัยบรรฑิต พืชผลทรัพย์ และ อ.กานต์ สุริยาศศิน
3. วง Electro-Acoustic Ensemble ควบคุมการฝึกซ้อมโดย อ.ชัยบรรฑิต พืชผลทรัพย์ และ Dr. Jean-David Cailliouet
Read More
สิ่งสนับสนุนการศึกษา
[divider]อาคารและสถานที่[/divider]คณะดุริยางคศาสตร์ มีพื้นที่จัดการเรียนการสอนหลัก ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน และได้ขยายห้องเรียนและห้องปฏิบัติการดนตรีเพิ่มขึ้นไปยังอาคาร SQI บนถนนแจ้งวัฒนะ และศูนย์สื่อสารองค์กร ณ อาคารพาณิชย์ด้านข้าง ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น โดยตระหนัก ถึงโอกาสของ นักศึกษาในการมีห้องปฏิบัติการดนตรี รวมถึงอุปกรณ์ที่มีคุณภาพในการเรียนการสอนและการฝึกซ้อมเพิ่มขึ้นอย่างพอ เพียง เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันทั้งในวงการศึกษาและวิชาชีพดนตรี
[divider]อาคาร SQI[/divider]
อาคาร SQI ตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งคณะดุริยางคศาสตร์ ได้รับความ ร่วมมือ สนับสนุนจากภาคเอกชน ให้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการซ้อมดนตรี และปฏิบัติการด้าน ห้องบันทึกเสียงของสาขาวิชา ดนตรี เชิงพาณิชย์ โดยมี
- ห้องเรียนบรรยาย ความจุ 30 -50 คน จำนวน 2 ห้อง และความจุ 25 คน จำนวน 4 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการรวมวงใหญ่ จำนวน 4 ห้อง
- ห้องซ้อมดนตรีขนาดเล็ก จำนวน 15 ห้อง
- ห้องคอมพิวเตอร์ดนตรี จำนวน 1 ห้อง
คณะดุริยางคศาสตร์ได้ปรับปรุงอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น จำนวน 2 คูหา ด้านข้างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็น
- ห้องพักอาจารย์ จำนวน 5 ห้อง สำหรับอาจารย์ 9 ท่าน
- ห้องบรรยาย ความจุ 24 คน จำนวน 1 ห้อง และความจุ 32 คน จำนวน 1 ห้อง พร้อมโสตทัศนูปกรณ์ ครบชุด
- ห้องเรียนปฏิบัติการวิชาเปียโนพื้นฐานและทักษะคีย์บอร์ด สำหรับนักศึกษากลุ่มละ 12 คน จำนวน 1 ห้อง
- ห้องซ้อมดนตรีขนาดเล็ก จำนวน 10 ห้อง
- ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 ห้อง
- พื้นที่พักผ่อนและค้นคว้าสำหรับนักศึกษา ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ หนังสือ และวารสาร ไว้บริการ
ห้องสมุดดนตรีของคณะดุริยางคศาสตร์ ประกอบด้วย
- เอกสารประกอบการสอน ตำราและหนังสือ : 1,241 เล่ม
- โน้ตเพลง : 1,000 รายการ
- แผ่นซีดีเพลง : 3,086 รายการ
- แผ่น VCD และ DVD : 796 รายการ
คณะดุริยางคศาสตร์ได้นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาพัฒนาสร้างฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการ จัดกระทำให้ สื่อดนตรีทุกประเภทภายในห้องสมุดดนตรี อันได้แก่ CD เพลง, แผ่น VCD/DVD, เทปวีดิทัศน์ และโน้ตเพลง อยู่ในรูปของ Digital Content ที่ผู้ใช้บริการทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ สามารถสืบค้นข้อมูลได้หลากหลาย และรวดเร็ว ผ่าน ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายไร้สายได้ทุกที่ภายในอาคารคณะดุริยางคศาสตร์ นับเป็นการตอบ สนองความ ต้องการของ ผู้ใช้บริการ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพและ ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดทาง ด้านสถานที่ของคณะฯ ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันฐานข้อมูลดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ของคณะดุริยางคศาสตร์ ประกอบด้วย
- ข้อมูลเพลงในรูปแบบไฟล์ MP3 จำนวน 36,678 เพลง
- โน้ตเพลงในรูปแบบ PDF ไฟล์ จำนวน 198 ไฟล์
- ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมดนตรีในรูปแบบไฟล์ MPGE4 จำนวน 64 ไฟล์
- และมีการพัฒนาเพิ่มเติมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
Read More