Dean's Talk
[one_third] [/one_third] [two_third_last] คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2541 ภาย ใต้ ชื่อ “โครงการจัดตั้ง คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร” โดยดำริของ ศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ 10 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากรผู้อำนวยการคนแรกคือ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมน รัตน์ศรี กรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ คณะดุริยางคศาสตร์ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2542 เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2543 เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น คณะดุริยางคศาสตร์จึงปรับปรุงเป็น หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาการแสดงดนตรี และเปิดหลักสูตรเพิ่มหลักสูตรลำดับที่สอง คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส ต่อมาปีการศึกษา 2546 เปิดสอน หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรลำดับที่สาม จนกระทั่งในปีการศึกษา 2552 คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรลำดับที่สี่ คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา ปีการศึกษา 2557 เพื่อก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและตอบสนองความต้องการบุคลากรทางด้านธุรกิจดนตรี ได้เปิดเพิ่มหลักสูตรลำดับที่ห้า คือ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีและธุรกิจบันเทิง รวมทั้งสิ้นมีหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต 4 หลักสูตร และ ระดับมหาบัณฑิต 1 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2562 คณะฯ กำลังดำเนินการเปิดหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสังคีตวิจัยและพัฒนา อีก 1 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2561 มีนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิต จำนวนมากกว่า 500 คนคณะดุริยางคศาสตร์ มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนในศาสตร์ดนตรีควบคู่ไปกับกิจกรรมดนตรีเพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงเก็บเกี่ยวประสบการณ์การแสดงศักยภาพต่อหน้าสาธารณชน และคณาจารย์ทำหน้าที่บริการวิชาการแก่สังคม ตอบสนองความต้องการของชุมชนสังคม บัณฑิตดุริยางคศาสตร์มีจุดเด่นในด้านการใช้ทักษะดนตรีเชิงสร้างสรรค์บูรณาการงานดนตรีและงานวิชาการให้ควบคู่กันไป เพื่อตอบสนองความหลากหลายในงานดนตรี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ จนทำให้ปัจจุบันคณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นที่ยอมรับในวงการดนตรีอย่างดีเยี่ยม
[/two_third_last] ในปีการศึกษา 2561 คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จะเปิดทำการเรียนการสอนมาแล้วครบ 20 ปี มีนักศึกษาดุริยางคศาสตร์ รุ่นที่ 20 ถือว่าคณะได้เติบโต พัฒนา และสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ สร้างชื่อเสียงให้แก่คณะฯ และมหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณาจารย์ที่มีความสามารถโดดเด่นทางดนตรี รวมถึงศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงมากมาย อาทิเช่น ศิษย์เก่าจากสาขาการแสดงดนตรี วง Exotic Percussion สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส น.ส. วิชญาณี เปียกลิ่น (แก้ม The Star) สาขาดนตรีเชิงพาณิชย์ นายยศทร บุญญธนาภิวัฒน์ (บูม) วง The Yer สาขาดนตรีและธุรกิจบันเทิง นาย วชิรวิทย์ จีนเกิด (ไม้หมอน The Voice) เป็นต้น
คณะดุริยางคศาสตร์ มีอาคารสถานที่ประกอบไปด้วย อาคารคณะดุริยางคศาสตร์ ตลิ่งชัน มีพื้นที่ใช้สอย 1,866 ตรม. อาคาร Music Plus Academy มีพื้นที่ใช้สอย 588 ตรม. อาคารศูนย์สันสกฤตศึกษา คณะโบราณคดี พื้นที่ใช้สอย 512 ตรม. รวมพื้นที่ทั้งหมด 2,966 ตรม. แบ่งเป็น ห้องเรียนบรรยาย ห้องเรียนปฏิบัติการ ห้องซ้อมดนตรี ห้องสมุด ห้องบันทึกเสียง หอดนตรีศาตราจารย์ตรึงใจ บูรณสมภพ สำนักงานคณบดี ห้องประชุม รวมถึงมีเครื่องดนตรี และอุปกรณ์ทางด้านดนตรีที่มีความทันสมัย
ในอนาคตคณะดุริยางคศาสตร์ ได้วางแผนในการขยายพื้นที่ที่ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกปี รวมถึงพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยควบคู่กับการบริการวิชาการด้านดนตรีที่หลากหลาย เพื่อให้ครอบคลุมทุกส่วนงานที่เป็นประโยชน์กับสังคมภายในประเทศและต่างประเทศ ผมในฐานะคณบดี คณะดุริยางคศาสตร์ มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการพัฒนา คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำที่สามารถ ผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศ สร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพ มีความเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม และเป็นบัณฑิตที่สามารถสร้างคุณประโยชน์แก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วุฒิชัย เลิศสถากิจ
คณบดีคณะดุริยางคศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Read MoreDean's Talk
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เคยปรารภกับท่านศาสตราจารย์
ความประสงค์ของท่านศาสตราจารย์
ในการครบรอบ 15 ปี ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคั
1) เกิดการบูรณาการด้านดนตรีกั
2) เกิดแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
3) เกิดหลักสูตรใหม่ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีและธุรกิจบัณเทิง
4) เกิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิ
5) เกิดการก่อตั้งวง Feroci Philharmonic Winds ซึ่งจะเป็นวงดุริยางค์เครื่
6) เกิดการเกิดใหม่ของวง Pro Musica ซึ่งเป็นวงออร์เคสคราที่เก่าแก่
7) เกิดการให้โอกาสในการส่งเสริมวง Viridian Percussion ซึ่งเป็นวงที่บริหารจัดการโดยศิ
นอกจากนั้น ในรอบปีสองปีที่ผ่านมา สาธารณชนยังได้ชื่นชมกับผลงานอั
จะเห็นว่าทางคณะดุริยางค์ฯ มศก. เต็มไปด้วยคณาจารย์