SILPASEAN Vol.2 – Leadsheets
Brunei – Cabuk-cabuk Bertali Rambai
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Indonesia – Kampuang Nan Jauh Di Mato
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Malaysia – Selamat Hari Raya
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Philippines – Pandangguhan
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
Vietnam – Inh Lả Ơi-be Xuân Mai
Arranged by : Rattana Wongsarnsern
ASEAN Music Network 2016 in Songkhla Rajabhat University
17 May 2016
Songkhla Rajabhat University : Thailand
ASEAN Music Network 2015 in Lao
23-25 March 2015
โรงเรียนศิลปะและการแสดงดนตรีแห่งชาติ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
โครงการจัดตั้งเครื่อข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป เกิดขึ้นทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปี 2557 ที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาดนตรีแจ๊สไปเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มประเทศอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมทางด้านดนตรีกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียรมาร์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี 2558 ได้ทำโครงการต่อเนื่อง โดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี พ.ศ. 2558 ได้ทำโครงการต่อเนท่องโดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น ทางคณะดุริยางคศาสตร์ได้มีการออดิชั่นนักศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจ เข้าร่วมมาสมัครและทำการออดิชั่นตามกติกา โดยนักศึกษาจะต้องคัดเลือกเพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของประเทศไทยมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในสไตล์แจ๊ส และคัดเลือกเพลงประจำชาติของประเทศที่เราเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ด้วยเช่นกัน จากการคัดเลือกเราได้นักศึกษา 4 วง ไป 4 ประเทศด้วยกัน ซึ่งเพลงต่างๆ ที่นักศึกษาาได้นำไปเผยแพร่นั้น นักศึกษาแต่ละวงนั้นได้นำมาแสดงในงานเผยแพร่โดยการแสดงดนตรีภายในงานเผยแพร่ผลงาสร้างสรรค์ ระดับนานาชาติ ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้น
วงที่เดินทางไปแสดงที่โรงเรียนศิลปะและการแสดงดนตรีแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนชาว ซึ่งก็ได้รับการสนใจเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยเพลงที่นำไปแสดงก็ได้แก่ เพลงดวงจำปา และเพลงเย็นสบายชาวนา ส่วนเพลงไทยที่วงนี้นำไปแสดงที่ประเทศลาวคือเพลงลำนำอีสาน เป็นเพลงแต่งใหม่ของนายฐิติวัฒน์ ตรีภพ ศิษย์เก่าของคณะดุริยางคศาสตร์ ที่นำแนวคิดจากเพลงหมอลำของทางอีสานแต่งขึ้นใหม่ให้เป็นเพลงแจ๊ส
เพลงดวงจำปา หรือเพลงจำปาเมืองลาว อุตมะ จุลมณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการลาว แต่งขึ้นเพื่อสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนลาว โดยใช้ดอกจำปา หรือดอกลั่นทม เป็นสื่อบอกถึงความรักแผ่นดินเกิด และใช้ทำนองขับทุ้มหลวงพระบาางมาเป็นทำนองเพลงนี้
เพลงเย็นสบายชาวนา มีเนื้อร้อง ทำนองที่บอกถึงวิถีชีวิตของชาวลาว ที่มีความสุขกับการทำงานด้านการเกษตร ทำให้ผู้ฟังเกิดความสุขใจ อบอุ่นใจ มีความเป็นมิตรภาพ เมื่อหลายสิบปีก่อนที่เป็นเพลงที่นิยมกันมากในประเทศไทย
ทั้งสองเพลงเป็นเพลงที่ประชาชนคนลาวรู้จักเป็นอย่างดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถร้องตามได้ ทางนักศึกษาจึงได้เลือกทั้ง 2 เพลงนี้นำไปเล่น โดยมีการเรียบเรียงเพลงให้มีคีตลักษณ์ที่เป็นดนตรีแจ๊สและเปลี่ยนรูปแบบของจังหวะใหม่ และเชิญให้นักเรียนจากโรงเรียนศิลปะและการแสดงดนตรีแห่งชาติขึ้นมาร่วมกันทั้งร้องเพลงทั้ง 2 เพลง เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ได้มีส่วนร่วม และสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างทั้ง 2 ชาติ
ซึ่งนักศึกษาทุกวงที่เดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ นอกจากได้เผยแพร่ดนตรีของไทยผ่านรูปแบบดนตรีแจ๊สแล้ว เรายังได้มิตรภาพจากประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ ที่เราไปเยือนผ่านเพลงพื้นเมืองของประเทศนั้นๆ ที่เราได้เรียบเรียงใหม่ ซึ่งทางเราก็นำผลงานเพลงที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาแสดงยังงานเผยแพร่นานาชาติ เพื่อแสดงให้กับทุกๆท่านที่มาร่วมงานได้รับชมและฟัง พร้อมบอกเล่าถึงประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับในการเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีพื้นบ้านยังประเทศเพื่อนบ้านที่ตนเองได้ไปให้กับผู้เข้าร่วมงานได้ฟัง
ASEAN Music Network 2015 in Cambodia
9-11 March 2015
The Royal University of Fine Art in PHANOMPEHN : Cambodia
โครงการจัดตั้งเครื่อข่ายสถาบันการศึกษาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป เกิดขึ้นทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ปี 2557 ที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำนักศึกษาและคณาจารย์สาขาวิชาดนตรีแจ๊สไปเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนความรู้กับกลุ่มประเทศอาเซียนทางด้านวัฒนธรรมทางด้านดนตรีกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียรมาร์ และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี 2558 ได้ทำโครงการต่อเนื่อง โดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ และปี พ.ศ. 2558 ได้ทำโครงการต่อเนท่องโดยเดินทางไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวนั้น ทางคณะดุริยางคศาสตร์ได้มีการออดิชั่นนักศึกษาโดยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่สนใจ เข้าร่วมมาสมัครและทำการออดิชั่นตามกติกา โดยนักศึกษาจะต้องคัดเลือกเพลงที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของประเทศไทยมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในสไตล์แจ๊ส และคัดเลือกเพลงประจำชาติของประเทศที่เราเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีมาเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ด้วยเช่นกัน จากการคัดเลือกเราได้นักศึกษา 4 วง ไป 4 ประเทศด้วยกัน ซึ่งเพลงต่างๆ ที่นักศึกษาาได้นำไปเผยแพร่นั้น นักศึกษาแต่ละวงนั้นได้นำมาแสดงในงานเผยแพร่โดยการแสดงดนตรีภายในงานเผยแพร่ผลงาสร้างสรรค์ ระดับนานาชาติ ที่ทางบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดขึ้น
วงที่เดินทางไปแสดงที่ The Royal University of Fine Arts พนมเปญ ราชอาณาจักกัมพูชา ได้นำเอกลักษณ์ของไทยจากทางภาคใต้ โดยการเรียบเรียงเสียงประสานเพลงโนราห์ใหม่ในสไตล์ของแจ๊สไปเผยแพร่ และได้เลือกเพลง Svay Chanty และ Arappiya ที่เป็นเพลงร้องประกอบรำวงของกัมพูชาที่คงความเอกลักษณ์ของประเทศดังกล่าวไปแสดง
เพลงไทยที่วงเรียบเรียงใหม่ คือ เพลงประกอบการแสดงโนราห์ของทางภาคใต้ของไทย คือ เพลงโนราห์รำบท เป็นเพลงที่ใช้ในช่วงการปล่อยตัวนางรำออกรำ ซึ่งเดิมใช้เครื่องดนตรีประกอบ ได้แก่ ทับ กลอง ปี่ ฉิ่ง โหม่ง แตร ซึ่งใช้ปี่ในการดำเนินทำนอง และเครื่องกระทบประกอบจังหวัในการคุมจังหวะลีลาการรำ ในส่วนของวงดนตรีแจ๊ส ได้นำเครื่องดนตรีสากลมาประสมวง ได้แก่ แซ็กโซโฟน กีต้าร์ เบส เปียโน กลองชุด และนำทำนองเดิมของเพลงโนราห์มาใช้ ช่วงเริ่มเพลงใช้เครื่องดนตรีโซปราโนแซ็กโซโฟนบรรเลงเดี่ยวใช้แทนปี่ เป็น Rubato เลียนแบบทำนองเดิม เมื่อเข้าทำนองหลักมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบจังหวะเป็นลักษณะจังหวะที่ยืดขยายล่องลอ และเพิ่มเสียงประสานที่เป็นแจ๊สใส่เข้าไปใหม่ทั้งเพลง ซึ่งเพลงในรูปแบบเดิมนั้นมีแค่แนวทำนองและจังหวะประกอบเท่านั้น
เพลง Svay Chanty และเพลง Arappiya ถือเป็นเพลงพื้นเมืองที่คนกัมพูชานิยมร้องเล่นกันมาก หากเทียบกับของไทยจะจัดอยู่ในรูปแบบของเพลงรำวง ซึ่งในกัมพูชาก็ได้นำทั้งสองเพลงนี้มาเรียบเรียงดนตรีใหม่นรูปแบบที่หลากหลาย โดยนักศึกษาแจ๊สก็ได้นำทั้งสองเพลงมาเรียบเรียงโดยเพิ่มเสียงประสานที่เป็นดนตรีแจ๊ส แต่ยังคงท่วงทำนองและท่อนเพลงไว้เพื่อให้สามารถเชิญนักศึกษาจาก The Royal University of Fine Arts ขึ้นมามีส่วนร่วมในการแสดงเพลงนี้ทั้งร้องและรำประกอบ ซึ่งได้รับการชื่นชอบจากนักศึกษาและอาจารย์ที่นั่นเป็นอย่างมาก
ASEAN Music Network 2014 in Myanmar
4-5 June 2014
Guitamit : Myanmar
สถาบันดนตรีคีตมิตร หรือที่ออกเสียงเป็นภาษาพม่าว่า “คีตาเมย” ซึ่งแปลว่า Musical Friendship เป็นสถาบันดนตรีเอกชนที่ก่อตั้งโดยอาจารย์คิด ยัง Kit Young นักเปียโนชาวอเมริกัน ผู้มีความสนใจในศิลปวัฒนธรรมพม่า และมีวิสัยทัศน์ที่จะเห็นการพัฒนาของสังคมพม่าโดยมีดนตรีเป็นตัวขับเคลื่อนคุณภาพชีวิตของคนพม่า ไม่ว่าจะเป็นดนตรีประเภทใดก็ตาม โอกาสของคนหนุ่มสาวพม่าในการได้ทำกิจกรรมดนตรีอย่างจริงจัง มีไม่มากนักในอดีต ซึ่งบรรยากาศทางวัฒนธรรมยังตกอยู่ใต้ข้อจำกัดทางการเมือง อาจารย์คิด ยัง จึงได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวและเงินบริจาคเพิ่มเติม ก่อตั้งสถาบันดนตรีคีตมิตรขึ้นมาในปี พ.ศ.2546 โดยมีมิตรสหายในแวดวงดนตรีคลาสสิค ดนตรีแจ๊ส ดนตรีป๊อป และดนตรีพื้นบ้าน มาร่วมงานพัฒนาองค์กรกันอย่างต่อเนื่อง มีกองทุนสนับสนุนจากนานาชาติมาช่วยอุปถัมภ์การดำเนินงาน สามารถที่จะเปิดรับเยาวชนที่มีความสามารถทางดนตรีมาพักอาศัยและมาเรียนดนตรี ฝึกซ้อมดนตรีกันได้ตลอดทุกวัน นอกจากนี้ ก็ยังมีมิตรประเทศหลายแห่งที่เปิดโอกาสให้เยาวชนดนตรีจากคีตมิตรเดินทางไกลไปหาประสบการณ์การเรียนดนตรีเพิ่มเติม หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมดนตรีนานาชาติ
สำหรับความสัมพันธ์กับคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถาบันนี้ โดยอาจารย์อานันท์ นาคคง เมื่อครั้งยังสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เคยเดินทางไปช่วยโครงการต่างๆของอาจารย์คิด ยัง สม่ำเสมอ รวมทั้งอุปถัมภ์นักศึกษาดนตรีแลกเปลี่ยนชาวพม่าเมื่อจะต้องใช้ชีวิตในประเทศ ไทยหลายคน ต่อมาเมื่อได้เข้ามาทำงานที่คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ผลักดันให้ นักศึกษาปริญญาโทหลักสูตรสังคีตวิจัยและพัฒนา วิชาเอกมานุษยดุริยางวิทยาและการประพันธ์เพลง ได้เดินทางมาเยือนสถาบันคีตมิตรเป็นประจำ ร่วมทำงานดนตรีสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยนวิชาการดนตรี ร่วมงานพัฒนาระบบห้องสมุดดนตรี และบันทึกข้อมูลดนตรีพม่าจากนักดนตรีรุ่นอาวุโสเอาไว้ โดยมีอาจารย์ฌอง ดาวิด ไคลูเอทท์ ร่วมกิจกรรมเป็นบางครั้งดังนั้น ในการมาเยือนสถาบันคีตมิตรครั้งนี้ ก็ถือว่าเป็นการ สานสัมพันธ์ต่อเนื่องโดยมีการใช้ดนตรีแจ๊สเป็นสื่อสัมพันธ์อย่างจริงจังครั้งแรก เพื่อมุ่งหวังให้นักศึกษาและคณาจารย์ดนตรีแจ๊สเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้สังคมวัฒนธรรม อาเซียนและพัฒนาผลงานเพื่อประชาคมอาเซียนได้อย่างชัดเจนต่อไปในอนาคต
อาจารย์อานันท์และอาจารย์ฌอง-ดาวิด ได้เดินทางล่วงหน้าคณะนักดนตรีแจ๊สไปก่อนเป็นเวลาสองวัน เพื่อบันทึกภาพ บันทึกเสียง ถ่ายทำสารคดีดนตรีพม่า โดยทำงานร่วมกับครูดนตรีคนสำคัญของสถาบันคีตมิตร ชื่อครูอู ถิ่น อายุ 83 ปี เป็นนักกีตาร์และนักดีดพิณที่มีฝีมือยอดเยี่ยม มีความรู้เรื่องเพลงพม่าโบราณและกลุ่มเพลงสยามโบราณที่เคยตกไปอยู่ในดินแดนพม่าเมื่อครั้งสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาราวสองร้อยกว่าปีที่แล้ว พม่าเรียกเพลงสยามเหล่านี้ว่า “เพลงโยเดีย” โดยที่ครูอูถิ่น ได้ศึกษาเล่าเรียนอย่างจริงจัง จดจำเพลงโยเดียเอาไว้ได้เป็นร้อยๆเพลง นอกจากนี้ยังสามารถให้ข้อมูลเรื่องเพลงประกอบภาพยนตร์ยุคอดีตที่เป็นหนังขาวดำได้แม่นยำ ถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่ามาก อันที่จริงการเก็บข้อมูลเรื่องครูอูถิ่นและดนตรีโยเดีย ดำเนินมาตั้งแต่ พ.ศ. 2555-56 แล้ว โดยอาจารย์ฌอง-ดาวิด ติดตามถ่ายทำการแสดงดนตรีและการสอนดนตรีของครูอูถิ่นมาเป็นระยะๆ ดังนั้นการเดินทางมาเยือนพม่าของทางภาควิชาดนตรีแจ๊สครั้งนี้ก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่จะบันทึกฟุตเตจวิดีโอและบันทึกเสียงครั้งใหญ่เอาไว้ด้วย การถ่ายทำและบันทึกเสียง มีอาสาสมัครนักเรียนดนตรีของสถาบันคีตมิตรร่วมเดินทางและเป็นล่ามแปลภาษาให้ตลอดเวลา มีศิลปินดนตรีพม่าอาวุโสจำนวน 8 ท่าน ร่วมในการแสดงดนตรีและให้สัมภาษณ์ ซึ่งหวังว่าเมื่อทำการตัดต่อวิดีโอสำเร็จ ก็น่าจะเป็นงานสารคดีที่ทรงคุณค่ามากชิ้นหนึ่ง
วันที่ 4 มิถุนายน 2557 คณาจารย์และนักศึกษา คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เดินทางไปสถาบันดนตรีคีตมิตร (Guitamit) เตรียมการสถานที่และเครื่องดนตรีที่ใช้ในการฝึกอบรมและแสดงคอนเสิร์ตในวันรุ่งขึ้น พบว่าอุปกรณ์และเครื่องดนตรีของสถาบันคีตมิตรที่ได้จัดเตรียมให้นั้นส่วนหนึ่งขาดการรักษาซ่อมบำรุงจึงทำให้อุปกรณ์และเครื่องดนตรีบางอย่างเสื่อมสรรถภาพการใช้งานเช่น แกรนด์เปียโน แอมป์เบส แอมป์กีตาร์ และอุปกรณ์กลองบางส่วน ซึ่งเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนอาจจะไม่สามารถฝึกซ้อมดนตรีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ช่วงบ่ายได้เข้าชมห้องสมุดของสถาบันจัดตั้งอยู่ชั้น 3 ของอาคารภายในห้องมีการจัดหมวดหมู่ประเภทของดนตรี เช่น ดนตรีพื้นเมือง ดนตรีพม่า ดนตรีคลาสสิก ดนตรีแจ๊ส ในแต่ละประเภทดนตรีมีหนังสือวิธีการฝึกซ้อมในแต่ละเครื่องมือ หนังสือประวัติศาสตร์ดนตรี หนังสือพจนานุกรมดนตรี โน้ตเพลงการรวมวงดนตรีตั้งแต่วงเล็กถึงวงใหญ่ ซีดีเพลงและดีวีดีคอนเสิร์ตจำนวนหนึ่งซึ่งได้มาจากการคัดลอกสำเนาของอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาที่นำมาบริจาค ในส่วนของห้องสมุดก็มีห้องสำหรับการฟังดนตรีมีอุปกรณ์เครื่องเสียงวิทยุให้ใช้งานได้
วันที่ 5 มิถุนายน 2557 ช่วงเช้าจัดอบรมทักษะทางด้านการปฏิบัติดนตรีแจ๊สให้กับผู้ที่มีความสนใจโดย อาจารย์วุฒิชัย เลิศสถากิจ ผศ.ดร.ศักดิ์ศรี วงศ์ธราดล และนักศึกษาสาขาวิชาดนตรีแจ๊ส จำนวนผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 20-30 คน หัวข้อในการจัดอบรมเน้นให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติดนตรีแจ๊ส องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ส เสียงประสาน จังหวะ และการด้นสด และสไตล์เพลง มีหัวข้อดังต่อไปนี้
- ตัวอย่างจากบทเพลง Straight No Chaser บทประพันธ์ของ Thelonious Monk เป็นเพลงในในสไตล์แจ๊สบูลส์ ซึ่งได้บรรเลงให้ผู้ชมรับฟังพร้อมทั้งอธิบายองค์ประกอบของดนตรีแจ๊สบูลส์ ในเรื่อง ฟอร์ม (Form) การสื่อสารทางด้านดนตรีแจ๊ส (Communication) การโต้ตอบระหว่างผู้เล่นในวง (Call and Response) และแนวคิดในการด้นสดจากตัวอย่างของกลุ่มคอร์ดในเพลงเช่นการเล่น การใช้บูลส์โน้ต (Blues Note) จากสเกลพื้น การใช้คอร์ดโทน (Chord tone) 1-3-5-7 การสร้างและจัดเรียงประโยคทางด้านดนตรีแจ๊ส (Articulation) และความเข้าใจในเรื่องจังหวะสวิง (Swing Feel)
- เสียงประสานทางด้านดนตรีแจ๊ส เป็นเรื่องที่มีผู้ให้ความสนใจอย่างมาก ซึ่งผู้บรรยายได้อธิบายถึงความรู้เบื้องต้นทางด้านทฤษฎีดนตรีว่าจำเป็นที่ผู้เล่นดนตรีแจ๊สต้องมีความรู้ทางด้านทฤษฎีดนตรีที่ดีควบคู่ไปกับความชำนาญในการปฏิบัติเครื่องดนตรีของตนเอง ในเรื่องสียงประสานของดนตรีแจ๊สนั้นได้แจกเอกสารประกอบการบรรยายคือ Rootless Voicing ในแบบ II-V-I ในเมเจอร์คีย์ (Major Key) และ ไมเนอร์คีย์ (Minor Key) และอธิบายส่วนประกอบของเสียงประสานทางด้านดนตรีแจ๊สที่มี 2 ส่วนคือ คอร์ดโทน และ เท็นชั่น (Tension) ยกตัวอย่างเช่น คอร์ด C Major 7 ประกอบด้วยโน้ต C-E-G-B เป็นโน้ตในคอร์ดโทนซึ่งได้รับความนิยมจากดนตรีร่วมสมัยซึ่งเป็นเสียงประสานธรรมดา คอร์ด C Major 7 ที่เพิ่มเท็นชั่นเข้าไปนั้นจะมีโน้ตนอกคอร์ดโทนเข้าผสมด้วยคือ C-E-G-B-D-F#-A เมื่อมีเท็นชั่นเข้ามาร่วมด้วยกับคอร์ดโทนนั้นจะทำให้ผู้เล่นมีปฏิกิริยาโต้ตอบรวมทั้งเป็นส่วนสนับสนุนในการด้นสด เป็นต้น
- ดนตรีแจ๊สสวิง ผู้บรรยายได้เล่าถึงรากฐานของดนตรีแจ๊สให้ผู้รับฟังได้เข้าใจที่มาที่ไปของสวิง สรุปได้ว่าจังหวะสวิงเกิดขึ้นจาก ดนตรีแอฟริกัน (African Music) ซึ่งมีการเล่นจังหวะที่ซับซ้อน (Poly Rhythm) จากนั้นได้สาธิตวิธีการเล่นเพลงแจ๊สที่เป็นจังหวะสวิงพร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมในเรื่องการเล่นสวิงในแต่ละเครื่องมือเช่น วิธีการเล่นเบส วิธีการเล่นกีตาร์ วิธีการเล่นกลอง เป็นต้น
- ดนตรีแจ๊สบอสซาโนวา (Jazz Bossanova) ยกตัวอย่างบทเพลง The Girl From Ipanema บทประพันธ์ของ Antonio Carlos Jobim และอธิบายหลักการวิธีปฎิบัติสไตล์บทเพลงบอสซาโนวาในแต่ละเครื่องมือ เช่น จังหวะในการเล่นคอร์ด (Comping) สำหรับเครื่องคอร์ด
- ดนตรีแจ๊สแซมบ้า (Jazz Samba) เป็นดนตรีแจ๊สบอสซาโนวาที่เพิ่มจังหวะให้เร็วขึ้นเท่าตัว (Double Time) ซึ่งต้องอาศัยทักษะความสามารถเฉพาะตัวสูงในการเล่นทำนองและการด้นสด
- การด้นสด (Improvisation) ผู้บรรยายกล่าวว่าการด้นสดของเครื่องดนตรีและการร้องสแกต (Scat) นั้นจำเป็นที่ผู้เล่นต้องมีทักษะความสามารถในการปฏิบัติที่ดี ความรู้ทางทฤษฏีดนตรีซึ่งมีผลต่อการด้นสด ยกตัวอย่างเช่น การด้นสดนั้นผู้เล่นต้องเข้าใจโครงสร้างเสียงประสาน (Structure Chord) จึงจะทำให้เล่นโน้ตได้ถูกต้องไม่ผิดเพื้ยนและความเข้าใจจังหวะในดนตรี แจ๊สแต่ละสไตล์
ระหว่างที่ทำการเวิร์คชอป ทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติพม่า Myanmar TV ได้มาทำการบันทึกเทปโทรทัศน์กิจกรรมดนตรีและสัมภาษณ์ อ.ดำริห์ บรรณวิทยกิจ คณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ เพื่อนำออกเผยแพร่ในข่า่วศิลปวัฒนธรรมให้สาธารณชนได้รับรู้ด้วย คณบดีได้เล่าถึงความสำคัญของการสร้างเครือข่ายทางดนตรีในกลุ่มประชาคมอาเซียนและการนำดนตรีแจ๊สมาเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและคนพม่า
ช่วงบ่ายเป็นการแสดงคอนเสิร์ต Friendship Concert by Silpakorn Jazz Students จากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาดนตรีแจ๊ส คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเอาเอาเพลงช้าง ซึ่งเป็นเพลงที่ทุกๆ คนในประเทศไทยรู้จักกันดี มาเรียบเรียงใหม่ในลักษณะของดนตรีแจ๊ส และนำเพลง Thida หรือ Sinewa ที่รู้จักกันดีซึ่งเพลงดั้งเดิมของเมียนมาร์มาเรียบเรียงใหม่เช่นกัน ซึ่งก็ได้รับการสนใจและตอบรับเป็นอย่างดีจากนักศึกษาและอาจารย์ที่เข้าร่วมงาน
เพลงช้าง เป็นเพลงที่คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปี พ.ศ.2530 เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นมาจากทำนองเพลงพม่าเขว เพลงนี้เป็นร้องสำหรับเด็กที่ทุกเพศทุกวัยรู้จักกันดี จนได้รับการยกย้อ่งและคัดเลือกเป็นเพลงประเทศภาคพื้นเอเซียโดยศูนย์วัฒนธรรมแห่งเอเซีย หน่วยงานของยูเนสโก (ACCU: Asian Cultural Centre for UNESCO) ซึ่งเป็นองค์การหนึ่งของสหประชาติ ทั้งนี้นักศึกษาเห็นว่าเพลงช้างเป็นเพลงที่ฟังง่ายและสามารถสื่อถึงประเทศไทยได้ จึงนำเพลงนี้มาเรียบเรียงใหม่เป็นแนวดนตรีแจ๊ส มีการใส่ลูกเล่นการร้องที่เป็นลักษณะการด้นเสียงเพิ่มเข้าไปในบทเพลงก่อนเริ่มต้นเนื้อและทำนองเพลงช้างเดิม และมีการเดี่ยวเครื่องดนตรีในลักษณะด้นสดตามคีตสัญลักษณ์ของดนตรีแจ๊สที่ได้เรียบเรียงขึ้นมา เครื่องที่ใช้ประสมวงดนตรีของวงนี้ ได้แก่ ไวโอลิน กีต้าร์ เบส กลองชุด และร้อง
เพลง Thida หรือ Sinewa เป็นเพลงเมียร์มาร์เดิม ซึ่งถือได้ว่าเป็นเพลงครู คือ เป็นเพลงที่ใช้ในการหัดเรียนดนตรีเมียนมาร์ ซึ่ง Sinewa นั้นหมายถึง ฉิ่งเมียนมาร์ ที่เรียกว่า Si และกรับเมียนมาร์ที่เรียกว่า Wa Sinewa ก็คือ ฉิ่งและกรับซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้บอกจังหวัดที่เป็นพื้นฐานของดนตรีเมียนมาร์ และเป็นเพลงที่รู้จักกันโดยทั่วไป จึงทำให้นักศึกษาสนใจและนำมาเรียบเรียงใหม่เป็นเพลงบรรเลงให้มีความเป็นดนตรีแจ๊สเพิ่มขึ้น โดยใช้ไวโอลินเป็นเครื่องเล่นทำนองหลัก และใช้กีต้าร์และเบสเป็นเครื่องสร้างเสียงประสาน ซึ่งคิดขึ้นมาใหม่ในรูปแบบของแจ๊ส เพราะเพลงของเมียนมาร์เดิมไม่มีการประสานเสียงอย่างตะวันตก (คอร์ด) แต่ใช้ทำนองหลักทำนองเดียวและเปลี่ยนทางเล่นไปตามเครื่องมือต่างๆ คล้ายกับดนตรีไทย และใช้กลองชุดเป็นเครื่องประกอบจังหวะ และเล่นในคีตลักษณ์ที่เป็นดนตรีแจ๊ส คือเริ่มเล่นด้วยส่วนของทำนองก่อนแล้วจึงตามด้วยการเดี่ยวเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง และจบด้วยทำนองเพลงอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเพลงนี้ก็ได้เสียงตอบรับอย่างดีจากทั้งนักเรียน อาจารย์ และนักดนตรีอาวุโสที่นั่น
- Yardbird Suite / Charlie Parker บรรเลงในสไตล์เรกเก้ (Reggae) เรียบเรียงโดยนักศึกษา
- That’s all / Alan Brandt ขับร้องในสไตล์สวิง (Swing)
- Secret Love / Sammy Fain ขับร้องและเรียบเรียงโดย นางสาวสรัญธร ทวีรัตน์ ภายใต้การควบคุมของอาจารย์แดน ฟิลลิปส์ ในรายวิชา Jazz Ensemble VI
- Overjoyed / Stevie Wonder
- Ronin / Tawatchai Rungrojsoontorn ประพันธ์โดย นายธวัชชัย รุ่งโรจน์สุนทร ภายใต้การควบคุมของอาจารย์แดน ฟิลลิปส์ ในรายวิชา Jazz Ensemble VI
- Cry me a river / Arthur Hamilton
- Nica’s Dream / Horace Silver
- เพลงไทย ช้าง / คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เรียบเรียงสียงประสานและจังหวะใหม่โดย นายอาชวิน สินธุ์สอาด โดยการใช้เทคนิคการเพิ่มเสียงประสานทางด้านดนตรีแจ๊สในเรื่องคอร์ดเทนชั่นและการจัดวางทำนองจากการตีความหมายใหม่บทเพลงโดยที่ยังคงรักษาทำนองที่เป็นเพนทาโทนิคไว้
- เพลงพม่า ธิดา / เรียบเรียงสียงประสานและจังหวะใหม่โดย นายอาชวิน สินธุ์สอาด โดยการใช้เทคนิคเรื่อง การปรับเปลื่ยนจังหวะและเสียงประสานของเพลงและเพิ่มท่อนด้นสดจากการสร้างกลุ่มคอร์ดใหม่เพื่อให้เกิดมิติในบทเพลง
ช่วงท้ายของคอนเสิร์ตเป็นการร่วมบรรเลงและขับร้องกันโดยไม่ได้เตรียมพร้อมหรือนัดหมายแต่อย่างใดระหว่างนักดนตรีพื้นเมืองของพม่า 3 ท่านในเครื่องดนตรี ดับเบิ้ลเบส เปียโน ขับร้อง และนักศึกษาดนตรีแจ๊สในเครื่องดนตรี กีตาร์ เบส กลอง (Jam Session) ในบทเพลง ซีเนหว่า (Sis Nae Wa) เป็นเพลงร้องที่มีการผสมกับการพูดระหว่างเพลง เริ่มต้นบทเพลงด้วยการเดี่ยวเปียโนขึ้นก่อนในลักษณะทำนองที่เป็น เพนทาโทนิค ในคีย์จี (G Major) จากนั้นนักศึกษาได้เริ่มบรรเลงตามโดยนำเอาโครงสร้างเพลงบูลส์ (Traditional Blues) มาใช้เป็นโครงสร้างหลักของบทเพลงรวมทั้งมีท่อนด้นสด (Improvisation) เข้ามาแทรกหลังจบท่อนทำนองหลัก
จากการร่วมบรรเลงด้วยกันของนักดนตรีทั้งสองกลุ่มในเพลง ซีเนวา (Sis Nae Wa) ความยาวประมาณ 5-6 นาทีเป็นการร่วมกันสร้างมิติใหม่ของดนตรีพื้นเมืองพม่าจากการตีความของทำนองหลักและอารมณ์ในขณะนั้นโดยอาศัยความรู้ทางด้านทฤษฏีดนตรีและพื้นฐานโสตทักษะที่ดีมาเป็นส่วนสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการของดนตรีทั้ง 2 ประเภทได้เป็นอย่างดี
บทเพลงซีเนหว่า ได้รับเกียรติจากครูอู ถิ่น ศิลปินอาวุโสวัย 83 ปี เป็นผู้ขับร้อง และครูนายยี ศิลปินดนตรีที่มีชื่อเสียงอีกท่านของเมืองย่างกุ้ง บรรเลงเปียโน โดยใช้เทคนิคโบราณที่พม่าเรียกว่า “ซานดาหย่า” Sandaya มาเล่นบนเปียโนอย่างลื่นไหล มีลักษณะของการกระแทกจังหวะและการเชื่อมวรรคตอนแบบผกผัน ใช้นิ้วขาขึ้นขาลงที่เป็นเอกลักษณ์ของเปียโนแบบพม่าที่ไม่เหมือนใคร
หลังจากนั้น ครูอูถิ่นและคณะนักดนตรีพื้นเมืองอาวุโส ได้บรรเลงและขับร้องบทเพลงโยเดีย เพื่อเป็นการต้อนรับคณะศิลปินชาวไทย คำร้องเป็นภาษาพม่าที่แปลงมาคำสยามโบราณ ทำนองก็เป็นทำนองเพลงสยามโบราณที่ไม่อาจสืบหาต้นตอได้เนื่องจากกาลเวลานับร้อยปีและสังคมมุขปาฐะทำให้เพลงสยามในอดีตกลายเป็นพม่าไปโดยปริยาย
จากการสัมภาษณ์นักดนตรีแจ๊สชาวพม่า Pau Khan Thang (Panthang) ตำแหน่งดับเบิ้ลเบส อายุ 34 ปี ได้เรียนดับเบิ้ลเบสแจ๊สกับ Professor Goester Muller ชาวออสเตรียซึ่งมาจัดฝึกอบรมให้ทุกปี ในระยะเวลา 3 อาทิตย์ Pau Khan Thang เล่นดนตรีได้หลายเครื่องเช่น ดับเบิ้ลเบส (Double Bass) เบสไฟฟ้า (Electric Bass) และเครื่องเคาะต่างๆ (Percussion) แนวดนตรีที่ชอบคือ กอสเปล (Gospel) แจ๊ส (Jazz) และดนตรีในโบสถ์ (Church Music) นักดนตรีแจ๊สที่ชื่นชอบคือ Ron Carter Ray Brown และ Avishai Cohen
ในเรื่องสังคมดนตรีแจ๊สที่พม่าได้ข้อมูลว่าที่พม่าไม่มีโรงเรียนดนตรีที่สอนดนตรีแจ๊สเป็นหลัก ส่วนใหญ่อาศัยการเรียนส่วนตัว (Private) กับนักดนตรีแจ๊สที่มาเล่นตามโรงแรมหรือจัดคอนเสิร์ตบางครั้ง สถานที่เล่นยังคงมีอยู่เฉพาะโรงแรมเท่านั้นโดยที่ Pau Khan Thang เล่นประจำวันอาทิตย์ เวลา 12.00-14.00 ที่ Inyalake Hotel โดยมักจะบรรเลงดนตรีแจ๊สในแบบมาตรฐาน (Jazz Standard) เป็นหลัก
เย็นวันนั้น คณะอาจารย์และนักศึกษา ได้เดินทางไปเยือนแหล่งเรียนรู้หุ่นสาย “โยกปวย” Yoke Pwe ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางการแสดงหุ่นที่สำคัญของพม่า อันมีลักษณะพ้องกับการเชิดหุ่น marionette ของฝรั่งเศส แต่ว่าหุ่นสายพม่ามีกลไกที่สลับซับซ้อนที่เป็นแนวทางของตนและมีกระบวนการเชิดที่ต้องสัมพันธ์กับจังหวะทำนองดนตรีที่บรรเลงอยู่ตลอดเวลา แหล่งเรียนรู้นี้ อยู่ในบ้านพักของคุณขิ่น มอง ชเว Khin Muang Htwe คณะหุ่นชเวอู Htwe Oo Puppet ย่านชานเมืองย่างกุ้ง เขตอฮโลน ซึ่งเป็นทั้งที่พักของครอบครัวคุณขิ่น มอง ชเว และเป็นที่จัดแสดงการเชิดหุ่นพม่าให้แก่ผู้สนใจด้วย โดยมิได้เป็นลักษณะธุรกิจแสวงผลกำไร หากแต่เป็นการให้การศึกษาและรับบริจาคมากกว่า กิจกรรมหลักของคณะหุ่นชเวอูคือการเดินทางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหุ่นพม่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้เดินทางรอบโลกมาเป็นเวลายาวนาน มีการบริหารจัดการในแนวเศรษฐกิจพอเพียง คุณขิ่น มองชเว ได้บรรยายเรื่องธรรมเนียมประเพณีการเชิดหุ่น การสร้างหุ่น กลไกของหุ่น เทคนิควิธีการเชิด และตัวอย่างตัวละครหุ่นที่สำคัญๆในขนบการแสดงโบราณ โดยมีนักแสดงที่เป็นเพื่อนบ้านและทายาทศิลปินแห่งชาติจากมัณฑะเลย์มาร่วมเชิดด้วย นอกจากนี้ยังได้ฝึกทายาทของตน เป็นเด็กชายอายุน้อย ให้รู้จักแสดงหุ่นพม่าได้อย่างมีชั้นเชิง การแสดงในช่วงเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง มี 13 รายการ โดยมีการบรรยายเป็นภาษาอังกฤษและใช้เสียงดนตรีที่บันทึกไว้ล่วงหน้าเปิดประกอบเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่และค่าใช้จ่าย ในช่วงท้าย คุณขิ่น มอง ชเว ได้เปิดโอกาสให้คณะอาจารย์และนักศึกษาได้ทดลองเชิดหุ่นด้วยตนเอง และมอบวิดีโอการแสดงหุ่นเพื่อเป็นการศึกษาแก่ทางคณะดุริยางคศาสตร์ด้วย จากนั้นได้บันทึกภาพร่วมกันเป็นที่ระลึกก่อนจะจากกันด้วยความประทับใจ
วันที่ 6 มิถุนายน 2557 หลังจากที่นักศึกษาได้แสดงคอนเสิร์ตแล้วทำให้นักเรียนและอาจารย์ที่ คีตมิตรเกิดความสนใจเรียนรู้และขอให้อาจารย์และนักศึกษาจัดอบรมอีกครั้งในเรื่องการปฏิบัติเครื่องเอกโดยได้แยกห้องเรียนทั้งหมด 5 ห้องประกอบด้วย เปียโน กีตาร์ เบส กลอง และขับร้อง หัวข้อในการอบรมเป็นเรื่องทักษะการปฎิบัติดนตรีแจ๊สเครื่องเอกและวิธีการด้นสด ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ในห้องการขับร้องนั้นได้ยกตัวอย่างบทเพลงแจ๊สที่ได้รับความนิยมเช่น All of Me, Misty, The Girl Form Ipanema, Route 66 ขับร้องโดย นางสาวสรัญธร ทวีรัตน์ ซึ่งทำให้นักเรียนขับร้องพม่าได้ให้ความสนใจวิธีการวอร์มเสียง การร้องโดยใช้ย่านเสียงต่างๆ รวมทั้งวิธีการถ่ายทอดอารมณ์ในบทเพลง และเมื่อถึงหัวข้อการด้นสดของนักร้อง (Scat) ได้ยกตัวอย่างการร้องจากเพลงบูลส์โดยให้นักเรียนขับร้องจากกลุ่มโน๊ตง่ายๆในสเกลบูลส์ รวมทั้งลองให้ผสมภาษาพม่าในการด้นสดเช่นคำว่า มิงกลาบา แปลไทยว่า สวัสดี และคำว่า เจซู-ดิมบาเด แปลไทยว่า ขอบคุณ ทำให้เกิดความสนุกสนานและได้อรรถรสในการอบรมมากขึ้น
Read More
SILPASEAN Leadsheets and Scores
SILPASEAN – An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej
Title | VDO | Song |
H.M. Blues arranged by Pairach Lukchan | ||
Magic Beam arranged by Tanarat Chaichana | ||
Oh I Say arranged by Thanapon Yongpho and Kittitach Sumpowthong |
Music Scores
H.M. Blues
| |
Alexandra | Alexandra-score-all |
Dream Island | |
Never Mind the Hungry Men’s Blues | ดวงใจกับความรัก-never-mind-the-hungry-mens-blues-Score-and-parts ดวงใจกับความรัก never mind the hungry men’s blues – Dan BAo – 2017-02-15 1448 – Dan BAo |
Love in Spring | Love-in-spring-Score-and-parts Love in spring – Saung (พิณพม่า) – 2017-02-15 1519 – Saung (พิณพม่า) |
Magic Beams | Magic Beams – Dan Bao – 2017-02-15 1457 – Dan Bao |
New Year Greeting | |
Near Dawn | |
Love at Sundown | |
Oh I Say | |
When | |
Read More
ASEAN Music Network 2014 in Singapore
17 – 18 February 2014
Lasalle College of The Art : Singapore
Sri Warisan Som Said Performing Arts : Singapore
วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ มีการแลกเปลี่ยนร่วมกันมาแต่โบราณและพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสังคม ความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน มีผลต่อสภาวะความอยู่รอด-การปรับเปลี่ยนและความสูญหายของดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ ทำให้ดนตรีพื้นบ้านในภูมิภาคนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการศึกษา เก็บข้อมูล วิเคราะห์แยกแยะ และสร้างระบบการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะของห้องสมุดเสียงดิจิตอล หรือฐานข้อมูลโน้ตเพลง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาระยะยาวและการพัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมดนตรีทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เห็นความจำเป็นในการสร้างศูนย์เครือข่ายดนตรีดิจิตอลโดยเริ่มต้นจากการทำงานเป็นเครือข่ายกับสถาบันการศึกษาในสาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า โดยเลือกองค์กรทางการศึกษาหรือองค์กรที่เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมดนตรีที่เป็นตัวแทนในแต่ละประเทศ และสร้างความร่วมมือกับนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญระบบการเก็บข้อมูลดนตรีพื้นบ้าน เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ และระบบการใช้งานเทคโนโลยีดนตรีที่เกี่ยวกับเสียง การบันทึกโน้ต-บันทึกภาพ-บันทึกภาพเคลื่อนไหว ผ่านการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้ การทำโครงงานร่วมกัน และการพัฒนาแนวทางสื่อดิจิตอล อันจะนำไปสู่การสังเคราะห์ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านของอุษาคเนย์ ตลอดจนการพัฒนาไปสู่การสร้างงานสร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับแต่ละสังคมวัฒนธรรม โดยมีเครือข่ายร่วมกับประเทศในสมาชิกอาเซียน ได้แก่
1. Lasalle College of The Arts สาธารณรัฐสิงคโปร์
2. SRI WARISAN SOM SAID Performing Arts Ltd สาธารณรัฐสิงคโปร์
ในกิจกรรมคอนเสิร์ตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจากสถาบัน Lasalle College of The Art ให้ความสนใจวิธีการเล่นดนตรีแจ๊สใน เรื่อง วิธีการปฎิบัติ การเรียบเรียงเสียงประสาน และการด้นสด รวมทั้งนักศึกษาศิลปากรได้ข้อแนะนำเทคนิคการปรับแต่งเสียงดนตรี การจัดวางวงดนตรี วิธีการปรับย่านเสียง และวิธีการตั้งไมโครโฟน จากนักศึกษา Lasalle จากการไปเผยแพร่ดนตรีแจ๊สและสร้างมิตรภาพเพื่อสร้างเครือข่ายทางด้านดนตรีกับสถาบัน Lasalle ครั้งนี้ คณะดุริยางคศาสตร์ ได้มุมมองในการนำเทคโนโลยีมาประกอบการเรียนการสอน Live Stream คือการถ่ายทอดสดการเรียนในห้องเรียนผ่านเครือข่ายของสถาบัน ซึ่งในขณะที่คอนเสิร์ตดำเนินอยู่ก็ได้ถ่ายทอดสดและให้นักศึกษาและบุคคลากรในสถาบันได้รับชมด้วย ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้กิจกรรมในห้องเรียนได้เผยแพร่สู่ภายนอก โดยคณะดุริยางคศาสตร์สามารถนำเอากลยุทธ์การถ่ายทอดสดผ่านระบบเครือข่ายมาเป็นส่วนพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียนโดยเริ่มต้นจากการบันทึกวีดีโอในชั้นเรียน ต่อยอดสู่การจัดทำไฟล์วีดีโอให้ห้องสมุด และให้นักศึกษาสามารถสืบค้นไฟล์วีดีโอได้ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาสามารถย้อนกลับมาดูบทเรียนหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในห้องเรียนอีกครั้ง ในส่วนของกิจกรรม Workshop และ Master Class ในหนึ่งภาคการศึกษามีการจัดกิจกรรมหลายครั้งในทุกสาขาดังนั้นหากมีการถ่ายทอดสดให้นักศึกษาและบุคคลากรได้สามารถรับชมรับฟังโดยที่ไม่ได้อยู่ในห้องก็จะช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารได้อย่างทันที รวมทั้งวิธีการ Live Stream จะเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้รับจากโครงการเครือข่ายดนตรีอาเซียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านดนตรีกับประเทศในอาเซียนในอนาคต
คณาจารย์และนักศึกษาได้รับความอนุเคราะห์จากทางสถาบันศิลปการแสดง ศรี วาริสัน Sri Warisan ซึ่งก่อตั้งโดยศิลปินแห่งชาติชาวสิงคโปร์เชื้อสายมาเลย์ มาดามสม ซาอิด Som Said เปิดชั้นเรียนดนตรีพื้นเมืองมาเลเซีย ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในโครงสร้างสังคมวัฒนธรรมสำคัญของประเทศสิงคโปร์ (ประกอบไปด้วยชาติพันธุ์มาเลย์ จีนโพ้นทะเล และอินเดียใต้) ในการนี้ มีอาจารย์อะเดล ดซูลคารนาเอน บิน อะหมัด Adel Dzulkarnaen Bin Ahmad ทางสถาบันศรี วาริสัน รับหน้าที่เป็นวิทยากรหลัก อาจารย์ไฟซาล เวนคโซ Fisal Wenkshoz เป็นวิทยากรผู้ช่วย ใช้พื้นที่ส่วนการฝึกซ้อมดนตรีของสถาบันฯในการทำเวิร์คชอป มีนักศึกษาดนตรีจากทาง Lasalle เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการนี้ด้วย
ความรู้ที่ได้จากการเวิร์คชอป ได้แก่
- เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมมาเลเซีย ซึ่งสะท้อนออกทั้งในด้านการปฏิบัติตนต่ออาคันตุกะ การทักทาย การสนทนา การแต่งกายพื้นเมือง
- เครื่องดนตรีพื้นเมือง ประกอบไปด้วย Kentul เครื่องเคาะบอกสัญญาน ทำจากรากไผ่แกะสลัก, Kendang กลองสองหน้า ตีคุมจังหวะในวงดนตรีกาเมลัน มีสองขนาด ใบใหญ่เรียกว่า Kengdang Ibu (แม่) ใบเล็กเรียกว่า Kendang Anak (ลูก), kendang Melayu หรือ Rebana กลองหน้าเดียว, Jino กลองเบส, Kampong กลองหน้าเดียว, Saron ระนาดทองเหลือง, Telempung ฆ้องราว, Gong ฆ้องใหญ่ และ Angklung อังกะลุงเครื่องดนตรีพื้นเมืองมาเลย์ในสิงคโปร์ มีความสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีอินโดนีเซียมาก แสดงถึงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมที่มีมาช้านานในภูมิภาคนี้
- การเรียนภาคปฏิบัติ การเล่นเครื่องดนตรีกาเมลันร่วมกัน ด้วยเพลงสั้นๆ ใช้โน้ตตัวเลข Kepatihan เป็นสื่อการสอน, การเรียนอังกะลุง, และการเรียนการตีกลอง Kampong ที่มีขั้นตอนสลับซ้อน ทั้งด้านการใช้จังหวะขัดกัน สอดสลับกัน มีการแบ่งเสียงหนักเบา และการขับร้องภาษามาเลย์ประกอบ
2016 – 2017 SILPASEAN – An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej
2016 – 2017 SILPASEAN
An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej
วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ มีการแลกเปลี่ยนร่วมกันมาแต่โบราณและพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของ
แต่ละสังคม ความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน มีผลต่อสภาวะความอยู่รอด-การปรับเปลี่ยนและความสูญหายของดนตรีพื้นบ้านในอุษาคเนย์ ทำให้ดนตรีพื้นบ้านในภูมิภาคนี้ มีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการศึกษา เก็บข้อมูล วิเคราะห์แยกแยะ และสร้างระบบการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะเป็นลักษณะของห้องสมุดเสียงดิจิตอล หรือฐานข้อมูลโน้ตเพลง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาระยะยาวและการพัฒนาไปสู่การสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรมดนตรีทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป
คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เห็นความจำเป็นในการสร้างศูนย์เครือข่ายดนตรีดิจิตอล โดยเลือกองค์กรทางการศึกษาหรือองค์กรที่เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมดนตรีที่เป็นตัวแทนในแต่ละประเทศ และสร้างความร่วมมือกับนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญระบบการเก็บข้อมูลดนตรีพื้นบ้าน เพื่อการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ และระบบการใช้งานเทคโนโลยีดนตรีที่เกี่ยวกับเสียง การบันทึกโน้ต-บันทึกภาพ-บันทึกภาพเคลื่อนไหว ผ่านการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดความรู้ การทำโครงงานร่วมกัน และการพัฒนาแนวทางสื่อดิจิตอล อันจะนำไปสู่การสังเคราะห์ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านของอุษาคเนย์ ตลอดจนการพัฒนาไปสู่การสร้างงานสร้างสรรค์ที่มีความเหมาะสมกับแต่ละสังคมวัฒนธรรม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 คณะฯได้นำบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นบทเพลงตัวแทนของประเทศไทยในการบูรณาการความรู้เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีที่งดงามของประเทศในกลุ่มอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดทำผลงานบทเพลงพระราชนิพนธ์ โดยการบูรณาการความรู้เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนมาบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความสวยงามทางวัฒนธรรมต่อกัน โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ประสานงานเครือข่าย ระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
2. เพื่อสร้างฐานความรู้ ประสบการณ์ร่วมของบุคลากรดนตรีอาเซียน ที่จะนำไปสู่การบูรณาการองค์ความรู้ ทางดนตรีวิทยา มานุษยวิทยาดนตรี เทคโนโลยีดนตรี และงานประพันธ์ดนตรีแนวสร้างสรรค์
3. เพื่อยกระดับและสร้างมาตรฐานในการศึกษาดนตรีในประเทศไทย ให้มีความรู้เท่าเทียมเพื่อนบ้าน มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองขึ้นเป็นผู้นำทางด้านวัฒนธรรมดนตรี สำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4. เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยศิลปากรสู่สังคมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
รูปแบบการดำเนินงาน
การจัดตั้งเครือข่ายสถาบันการศึกษา เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาดนตรีพื้นบ้านอุษาคเนย์ภาคพื้นทวีป นำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนและเครื่องดนตรีไทยมาใช้ในการเรียบเรียงเพลงพระราชนิพนธ์ จัดทำซีดีบทเพลงพระราชนิพนธ์ภายใต้ชื่อ SILPASEAN: An ASEAN Interpretation of Compositions by His Majesty King Bhumibol Adulyadej โดยเชิญนักดนตรีในประเทศเครือข่ายอาเซียน ได้แก่ Ms. LE THUY LINH จากประเทศเวียดนาม และ Mr. Aung Pyae Son จากประเทศเมียนมา นอกจากนี้ได้สร้างความร่วมมือกับ Faculty of Fine Arts, University of Agder (UiA), Kristiansand Norway สนับสนุนให้ศิลปินและผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงในผลงานสร้างสรรค์ทางดนตรี SILPASEAN นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ ศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบันของคณะฯ ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน โดยได้ร่วมมือกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจัดการแสดงผลงานดังกล่าวในโครงการ Asean Music Event ซึ่งเป็นการนำเครื่องดนตรีจากประเทศสมาชิกในอาเซียนมาบรรเลงและแสดงในงาน Tribute to His Majesty King Bhumibol Adulyadej Concert
การแสดง Tribute to His Majesty King Bhumibol Adulyadej Concert
โครงการแสดงดนตรีบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เสาร์ที่ 18 มีนาคม 2560 เวลา 17.00 – 22.00 น.
ลานด้านหน้า หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครขอเชิญทุกท่านร่วมน้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน ในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแวดวงดนตรีของประเทศไทย เชิญร่วมชมการแสดงคอนเสิร์ตจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรรเลงโดยคณาจารย์และนักศึกษาจาก 5 สถาบัน ได้แก่
C.U. Clarinet Ensemble จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Kasetsart Wind Symphony Orchestra ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Rangsit University Jazz Orchestra วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
ศิลปะเซียน คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Pomelo Town วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เพื่อเป็นการร่วมน้อมรำลึกองค์อัครศิลปิน ในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแวดวงดนตรีของประเทศไทย คณะฯได้นำบทเพลง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาเป็นบทเพลงตัวแทนของประเทศไทยในการบูรณาการความรู้เรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านอาเซียนเพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีที่งดงามของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยจัดแสดงการแสดงดนตรีบทเพลงพระราชนิพนธ์ โดยนักศึกษาดนตรี และอาจารย์ จาก 5 สถาบัน ได้แก่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 3. ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต และ 5. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรูปแบบวงฯ ที่แตกต่างกันไป เพื่อเป็นการแสดงถึงแรงบันดาลใจ ที่เหล่าเยาวชนนักศึกษาดนตรีได้รับจากบทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเพื่อเป็นการถวายความเคารพในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในฐานะองค์อัครศิลปิน รวมทั้งพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อแวดวงดนตรีของประเทศไทย
การแสดงนี้เป็นการแสดงผลงานดนตรีซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอาเซียน เช่น ด่านบ๋าว จากประเทศเวียดนาม กุลินตางัน จากประเทศบรูไน อังกะลุง จากประเทศอินโดนีเซีย และระนาด จากประเทศไทย มาผสมผสานกับการเรียบเรียงเสียงประสานใหม่ในสไตล์ดนตรีแจ๊สซึ่งยังไม่เคยมีที่ไหนทำมาก่อน โดยจะนำแสดงในวันที่ 18 มีนาคม 2560 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ข้อมูลเพิ่มเติม
ภาพบรรยากาศการอัดเสียง
https://www.flickr.com/photos/music_silpakorn/albums/72157676915572604
ภาพบรรยากาศการแสดง
https://www.flickr.com/photos/music_silpakorn/albums/72157697165737954
ดาวน์โหลดปกซีดีเพลง
https://drive.google.com/open?id=0BxV68uxHQaa_Nl9UZlM0T1RsMzg
วีดีโอคอนเสิร์ต
HM Blues: https://www.youtube.com/watch?v=R3zWe1tfM2s&index=18&list=PLda0U6W-9Hc4SinNV00RIlBtz8HxRSNXs
OH I Say: https://www.youtube.com/watch?v=Ace5LZfSwEU
Magic Beam: https://www.youtube.com/watch?v=U9OaNyNas08&t=3s
เบื้องหลังการอัดเพลง
OH I say : https://youtu.be/CQLiF2EctjM