เปียโนมิตรภาพ 4 สถาบัน Friendship Piano Recital # 2
เปียโนมิตรภาพ 4 สถาบัน Friendship Piano Recital # 2 วันที่ 8 มีนาคม 2556 ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8z ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิร์ล |
ประวัติคณะ
คณะดุริยางคศาสตร์ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ภายใต้ชื่อ “โครงการจัดตั้งคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร” โดยดำริของศาสตราจารย์ ดร.ตรึงใจ บูรณสมภพ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยความร่วมมือจากบุคคลในวงการดนตรีหลายท่าน นับเป็นคณะวิชาลำดับที่ ๑๐ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้อำนวยการคนแรก คือ เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ
Founded in 1998, the Faculty of Music was the initiative of Prof. Emeritus Dr. Trungjai Buranasomphop, the former President of the University, and set up as an Academic Development Project. It was established in collaboration with leading scholars of music as the tenth faculty of the university. Its first director was Prof., Dr.Manrat Srikaranonda National Artist
คณะดุริยางคศาสตร์ เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา ๒๕๔๒ เปิดสอนเพียงหลักสูตรเดียว คือ ดุริยางคศาสตรบัณฑิต ต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๔๓ เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เปิดสอนหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นเป็นหลักสูตรที่สาม และในปีการศึกษา ๒๕๕๒ คณะดุริยางคศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลักสูตร คือ หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
The first program of the Faculty was a Bachelors Degree in Music Performance inaugurated in 1999. The programs for Jazz Studies and Commercial Music were added later, in 2000 and 2003 respectively. The Masters in Music Research and Development was introduced in 2009.
[divider]หลักสูตรการศึกษา[/divider]
- ดุริยางคศาสตรบัณฑิต (ดศ.บ.) หลักสูตรการศึกษา 4 ปี Bachelor of Music (B.Mus.) 4 years
- สาขาวิชาการแสดงดนตรี Performance
- สาขาวิชาดนตรีแจ๊ส Jazz Studies
- สาขาวิชาดนตรีเชิงพาณิชย์ Commercial Music
- ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต (ดศ.ม.) หลักสูตรการศึกษา 2 ปี Master of Music (M.Mus.) 2 years
- สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา Music Research and Development
สีประจำคณะ – สีชมพู Color Pink
[divider]การวิจัยและบริการทางวิชาการทางสังคม[/divider]
คณะดุริยางคศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงในวิชาที่เรียน โดยเน้นสนับสนุนการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ออกแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน ณ สถานศึกษาและสถานที่สำคัญอื่น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนับเป็นการบริการวิชาการ และส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพดนตรีที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติได้
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้หล่อหลอมให้บัณฑิตและมหาบัณฑิตที่จบจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความโดดเด่นทางด้านดนตรี ควบคู่ไปกับความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการที่สามารถนำไปประกอบอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อ ตนเอง สังคมและประเทศชาติ
Research and Mission:
The Faculty provides music education at the highest level. Through a variety of musical activities, students acquire professional experience while expanding their understanding of music and its roles within society. The Faculty has produced distinguished alumni, with many graduates now working as professional musicians. Through a combination of musical skill and academic knowledge, graduates are now contributing significantly to the country’s musical life.
Read More
รางวัลและเกียรติยศ
“ASEAN Anthem (The ASEAN Way)”
คณะดุริยางคศาสตร์มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการด้าน ดนตรีเทียบเท่าสากล ได้สนับสนุนอาจารย์ นักศึกษาและศิษย์เก่าเข้าร่วมกิจกรรมระดับชาติและนานาชาติ และได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประกวดแข่งขันเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem Adjudicators’ Panel – A3P) รอบสุดท้ายขึ้น ณ โรงแรม พูลแมน คิง พาวเวอร์ กรุงเทพฯ เพื่อคัดเลือกเพลงชนะเลิศจากเพลงที่เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 10 เพลง
คณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ คือ Mr. Haji Manaf bin Haji Kamis จากบรูไนฯ Dr. Sam Ang Sam จากกัมพูชา Mr. Purwa Caraka จากอินโดนีเซีย Mr. Khamphanh Phonthongsy จากลาว Mr. Ayob Ibrahim จากมาเลเซีย Mr. Tin Oo Thaung จากพม่า Mr. Agripino V. Diestro จากฟิลิปปินส์ Mr. Phoon Yew Tien จากสิงคโปร์ Mr. Pham Hong Hai จากเวียดนาม และพลเรือเอก หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช เป็นกรรมการจากประเทศไทย
นอกจาก นี้ยังมีกรรมการจากประเทศที่ไม่ใช่ประเทศสมาชิกอีก 3 ประเทศ คือ Ms. Sandra Milliken จากออสเตรเลีย Mr. Bao Yuan-Kai จากจีน และ Ms. Keiko Harada จากญี่ปุ่น
หลังจากการถกกันอย่างกว้างขวางในหมู่คณะกรรมการแล้ว เพลงที่มีชื่อว่า “ASEAN Anthem (The ASEAN Way)” ประพันธ์โดย นายกิตติคุณ สดประเสริฐ นายสำเภา ไตรอุดม (อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร) และนางพยอม วลัยพัชรา จากประเทศไทย ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะเลิศเพลงประจำอาเซียน
Read Moreสิ่งสนับสนุนการศึกษา
[divider]อาคารและสถานที่[/divider]คณะดุริยางคศาสตร์ มีพื้นที่จัดการเรียนการสอนหลัก ตั้งอยู่ ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน และได้ขยายห้องเรียนและห้องปฏิบัติการดนตรีเพิ่มขึ้นไปยังอาคาร SQI บนถนนแจ้งวัฒนะ และศูนย์สื่อสารองค์กร ณ อาคารพาณิชย์ด้านข้าง ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น โดยตระหนัก ถึงโอกาสของ นักศึกษาในการมีห้องปฏิบัติการดนตรี รวมถึงอุปกรณ์ที่มีคุณภาพในการเรียนการสอนและการฝึกซ้อมเพิ่มขึ้นอย่างพอ เพียง เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการแข่งขันทั้งในวงการศึกษาและวิชาชีพดนตรี
[divider]อาคาร SQI[/divider]
อาคาร SQI ตั้งอยู่บน ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งคณะดุริยางคศาสตร์ ได้รับความ ร่วมมือ สนับสนุนจากภาคเอกชน ให้เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติการซ้อมดนตรี และปฏิบัติการด้าน ห้องบันทึกเสียงของสาขาวิชา ดนตรี เชิงพาณิชย์ โดยมี
- ห้องเรียนบรรยาย ความจุ 30 -50 คน จำนวน 2 ห้อง และความจุ 25 คน จำนวน 4 ห้อง
- ห้องปฏิบัติการรวมวงใหญ่ จำนวน 4 ห้อง
- ห้องซ้อมดนตรีขนาดเล็ก จำนวน 15 ห้อง
- ห้องคอมพิวเตอร์ดนตรี จำนวน 1 ห้อง
คณะดุริยางคศาสตร์ได้ปรับปรุงอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น จำนวน 2 คูหา ด้านข้างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เป็น
- ห้องพักอาจารย์ จำนวน 5 ห้อง สำหรับอาจารย์ 9 ท่าน
- ห้องบรรยาย ความจุ 24 คน จำนวน 1 ห้อง และความจุ 32 คน จำนวน 1 ห้อง พร้อมโสตทัศนูปกรณ์ ครบชุด
- ห้องเรียนปฏิบัติการวิชาเปียโนพื้นฐานและทักษะคีย์บอร์ด สำหรับนักศึกษากลุ่มละ 12 คน จำนวน 1 ห้อง
- ห้องซ้อมดนตรีขนาดเล็ก จำนวน 10 ห้อง
- ห้องทำงานเจ้าหน้าที่ จำนวน 2 ห้อง
- พื้นที่พักผ่อนและค้นคว้าสำหรับนักศึกษา ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ หนังสือ และวารสาร ไว้บริการ
ห้องสมุดดนตรีของคณะดุริยางคศาสตร์ ประกอบด้วย
- เอกสารประกอบการสอน ตำราและหนังสือ : 1,241 เล่ม
- โน้ตเพลง : 1,000 รายการ
- แผ่นซีดีเพลง : 3,086 รายการ
- แผ่น VCD และ DVD : 796 รายการ
คณะดุริยางคศาสตร์ได้นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาพัฒนาสร้างฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการ จัดกระทำให้ สื่อดนตรีทุกประเภทภายในห้องสมุดดนตรี อันได้แก่ CD เพลง, แผ่น VCD/DVD, เทปวีดิทัศน์ และโน้ตเพลง อยู่ในรูปของ Digital Content ที่ผู้ใช้บริการทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ สามารถสืบค้นข้อมูลได้หลากหลาย และรวดเร็ว ผ่าน ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายไร้สายได้ทุกที่ภายในอาคารคณะดุริยางคศาสตร์ นับเป็นการตอบ สนองความ ต้องการของ ผู้ใช้บริการ ได้อย่าง มีประสิทธิภาพและ ช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดทาง ด้านสถานที่ของคณะฯ ได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันฐานข้อมูลดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ของคณะดุริยางคศาสตร์ ประกอบด้วย
- ข้อมูลเพลงในรูปแบบไฟล์ MP3 จำนวน 36,678 เพลง
- โน้ตเพลงในรูปแบบ PDF ไฟล์ จำนวน 198 ไฟล์
- ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกิจกรรมดนตรีในรูปแบบไฟล์ MPGE4 จำนวน 64 ไฟล์
- และมีการพัฒนาเพิ่มเติมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
Read More
ความร่วมมือทางวิชาการ
ความร่วมมือทางวิชาการ
ความร่วมมือทางวิชาการ ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ
- โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย
- โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันเพื่อส่งเสริม สนับสนุน นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรีสากล ให้สามารถศึกษาเล่าเรียนและได้รับการแนะนำพัฒนาความรู้และความสามารถได้เต็ม ศักยภาพ ความร่วมมือดังกล่าวประกอบด้วย
(1) ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี ได้ศึกษาเล่าเรียนได้เต็มศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) เสริมสร้างพันธมิตรระหว่าง ครู อาจารย์ ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน องค์กรต่าง ๆ รวมทั้งคณาจารย์ในคณะดุริยางคศาสตร์ มศก. เพื่อยกระดับการพัฒนาการศึกษาของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษของชุมชน
(3) ร่วมกันแสวงหา คัดเลือก นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านดนตรี รวมทั้งกำกับดูแล แนะนำ ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนให้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้เต็มศักยภาพ
(4) สนับสนุนให้นักเรียนในโครงการฯ เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ตามโครงการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้มีความสามารถเป็นเลิศทางดนตรี ของคณะดุริยางคศาสตร์ มศก.
Associazione “Amici della Musica” FEDELE FENAROLI Lanciano (CH), Italy
ใน เทศกาลดนตรี The International Orchestral Music Courses – Lanciano 2011 ณ ประเทศอิตาลี ที่ผ่านมานั้น ทางคณะฯ ได้ส่งอ.ทัศนา นาควัชระ รองคณบดีฝ่ายบริหาร และอ.ดร.พรพรรณ บรรเทิงหรรษา เผยแพร่งานสร้างสรรค์ในลักษณะการแสดงดนตรี และร่วมเป็นอาจารย์ควบคุมการฝึกซ้อมให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมในเทศกาลดนตรี ดังกล่าว นอกจากนั้น นักศึกษาเครื่องมือเอกไวโอลิน น.ส.อธิยา วรวิจิตราพันธ์ ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมฝึกซ้อม โดยได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวนจากทาง Associazione “Amici della Musica” FEDELE FENAROLI Lanciano (CH), Italy ด้วย
จากความสัมพันธ์อันดีใน การที่ทางคณะดุริยางคศาสตร์และ Associazione “Amici della Musica” FEDELE FENAROLI Lanciano (CH), Italy ร่วมกันสร้างสรรค์งานดนตรี และทำกิจกรรมดนตรีอันเป็นประโยชน์ทางวิชาการร่วมกัน ผู้บริหารของทั้งสองสถาบันจึงเล็งเห็นความสำคัญที่จะมีความตกลงร่วมกันทาง วิชาการระหว่าง มหาวิทยาลัยศิลปากร และ Associazione “Amici della Musica” FEDELE FENAROLI Lanciano (CH), Italy เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ ห้องประชุมนริศรานุวัดติวงศ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน เพื่อเป็นการผลักดันและส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการด้านดนตรีในประเทศไทย ต่อไป
Chung-Ang University, Korea
เมื่อวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้บริหาร รวมถึงคณบดีคณะวิชาต่าง ๆ ร่วมให้การต้อนรับผู้แทนผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยชุงอาง ได้ส่งศาสตราจารย์ ดร.แช ซัง-ฮวา (Professor Dr. Choi, Sang Wha) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญดนตรีเกาหลีเดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัย ศิลปากร เพื่อลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยศิลปากรกับ มหาวิทยาลัยชุงอาง ณ ห้องประชุม 401 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.แช ซัง-ฮวา ได้นำคณาจารย์และนักศึกษาวิชาเอกดนตรีจากมหาวิทยาลัยชุงอางจำนวน 35 คน มาร่วมจัดแสดงดนตรีวัฒนธรรมเกาหลี แลกเปลี่ยนกับกับการแสดงดนตรีไทย-ดนตรีพื้นบ้าน-นาฏศิลป์พื้นบ้าน โดยมีคณะศิลปินจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และการแสดงดนตรีร่วมสมัยจากคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรในวันดังกล่าวด้วย โดยใช้ชื่อการแสดงว่า “สายสัมพันธ์เพลงดนตรีเกาหลีไทย” โดยมีรายการแสดงพร้อมการบรรยายความรู้ดนตรีไทย-เกาหลี ให้แก่ผู้สนใจได้รับชมรับฟัง ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
The University of Granada, Spain
เมื่อ วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.อุทัย ดุลยเกษม อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร รวมถึงคณบดี และผู้บริหารของคณะดุริยางคศาสตร์ ร่วมให้การต้อนรับ Dr.Oswaldo Lorenzo Qulies, Vice-Dean of Research, Postgraduate and International Programs of the Faculty of Education and Humanities (University of Granada, Spain) เดินทางมาเยือนมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยศิลปากรกับ The University of Granada, Spain ในการนี้ Dr. Oswaldo Lorenzo Qulies ได้ให้เกียรติบรรยายหัวข้อ “Musical Education: a Multidisciplinary Perspective” ให้กับนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา ณ ห้องประชุม 401 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน