การอัดเสียงในสมัยนี้สามารถทำได้ง่ายโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าห้องอัด แต่สิ่งสำคัญที่เราควรรู้ก่อนจะอัดเสียง เราควรต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการอัดเครื่องดนตรีอะไร เสียงจากจุดไหน โดยการที่ใช้หูของเราฟัง เมื่อได้ตำแหน่งเสียงที่เราชอบ จึงนำไมค์มาตั้งไว้ในตำแหน่งเดียวกับที่หูของเราได้ยิน ในที่นี้เราจะเสนอวิธีการอัดเสียงซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากมายเรียกว่า Spaced pair
Spaced pair Miking (หรือที่เรียกว่า A / B) ประกอบด้วยไมโครโฟนสองตัวโดยทั่วไปจะใช้รูปแบบpola pattern คาร์ดิออยด์ โดยทั้ง 2 ไมค์จะต้องมีระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงที่เท่ากัน ในที่นี้เป็นการอัดPiano จะแบ่งเป็นเสียงสูงและเสียงต่ำและทำการ pan ให้เป็นธรรมชาติตามลักษณะเสียงของเครื่องดนตรีที่เราต้องการ
จะใช้ไมค์ Condenser ตั้งไว้ในระยะห่างที่เท่ากันจากจุดกำเนิดเสียงโดยแบ่งเป็น 2 ข้าง สูงและต่ำ ในที่นี้จะเป็นการอัด piano สามารถใช้เพื่อสร้าง stereo image ที่เป็นธรรมชาติ และเกิดมิติที่กว้างทำให้เหมือนเราได้ยิน piano เล่นอยู่ตรงหน้าจริงๆ
(ภาพรวมการ Miking)
อุปกรณ์ที่ใช้
1. Neumann km184 (2ตัว)
เป็นไมค์ Condenser ชนิด Small Diaphragm ซึ่งรับได้แคบและมีความละเอียดสูง ใช้จ่อหน้า piano ทั้ง 2 ตัวด้วยลักษณะตั้งฉากแบ่งเป็นย่านเสียงสูงและเสียงต่ำโดยให้ห่างจากจุดกำเนิดเสียงประมาณ 10 นิ้วไมบรรทัดตามรูปด้านล่าง
2. AKG C414 (2ตัว)
เป็นไมค์ Condenser ชนิด Large-diaphragm Condenser สามารถปรับเลือกการรับเสียงได้หลายรูปแบบในที่นี้เราจะทำการปรับเป็น Cardioid
นำทั้ง 2 ตัวตั้งด้านข้างของ piano ให้ขนานกันเอียงประมาณ 70 องศาและแบ่งจับเสียงสูงเสียงต่ำเหมือนไมค์ Nuemann km 184
3. Neumann U87 (1ตัว)
Neumann U87 สามารถให้การตอบสนองความถี่ที่สมดุลมาก ๆ ใน polar patterns ทั้ง 3 แบบ ได้แก่ รับด้านเดียว (cardioid), หน้าหลัง (figure-8) และรอบทิศทาง (omni) ทำให้สามารถปรับให้เข้ากับการใช้งานที่หลากหลายตามความเหมาะสม
การหาจุดที่เหมาะสมในการตั้งไมค์ Room คือระยะห่างจากตัวเครื่องดนตรีที่เราฟังชอบที่สุดตั้งความสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตรครึ่ง
การ Set up ในโปรแกรมทำเพลง
(รูปตัวอย่างสัญณาณ Wave ในLogic pro x)
วิธีการ set up ก่อนอัด
ก่อนเข้าสู่วิธีการอัดเสียงเราควรเช็ค Gain ไมค์ทุกตัวให้บาลานซ์กัน และความดังเบาให้เท่ากัน
โดยวิธีการเช็คจะฟังเป็นคู่เริ่มจาก Neumann Km184 (2ตัว) , AKG C414 (2ตัว) ,และ ไมค์ Room Neumann U87 ตามลำดับ
เมื่อสัญญาณมีความดังที่บาลานซ์กันแล้ว ให้เริ่ม Pan L,R (ซ้าย,ขวา) โดยไมค์ที่รับเสียงย่านสูงให้ปรับ Pan ด้านซ้าย L. ในประมาณ -64 องศาบนโปรแกรมทำเพลง และไมค์ที่รับเสียงต่ำให้ปรับ Pan ด้านขวา R. +64 องศา การ Pan L,R (ซ้าย,ขวา) ทำให้เกิดมิติที่เป็นธรรมชาติ ความรู้สึกเหมือนอยู่หน้าเปียโนจริงๆ
ส่วนไมค์ Room เราไม่จำเป็นต้อง Pan ให้ค่าองศาอยู่ที่ 0 เพราะหน้าที่ของไมค์ Room คือการก็บภาพรวมของทุกย่านรวมถึงเสียงระยะไกลที่ออกมาจาก Piano ทำให้การอัดสมบูรณ์และเป็นธรรมชาติยิ่งขึ้น
เมื่อทำการเช็ค Gain ของไมค์ทุกตัวและ Pan ตามขั้นตอนแล้วควรจะ Mute ไมค์ทุกตัวก่อนที่จะเปิดPhantom +48V
ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของวิธีการอัดเสียงที่สามารถลองนำไปใช้จริงได้ นอกจากกนี้ยังสามารถดัดแปลงตามความต้องการในแบบของตัวเอง และต่อยอดวิธีการที่นำเสนอไป หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ